คณะรัฐมนตรีไทย พ.ศ.2516-2519
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ 1. เพื่อศึกษาการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2516-2519 เน้นด้านภูมิหลังอาชีพและเครือข่ายของรัฐมนตรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยในการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2516-2519 คณะรัฐมนตรีที่ศึกษานี้มี 6 ชุด ระหว่าง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ถึง 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นคณะรัฐมนตรีชุดที่ 33-38 มีนายกรัฐมนตรีรวม 3 คน ได้แก่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านรัฐธรรมนูญ ปัจจัยด้านพระมหากษัตริย์ ปัจจัยด้านทหารและกองทัพ ปัจจัยด้านพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง ปัจจัยด้านกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มกดดันทางการเมือง ปัจจัยด้านบริบททางการเมือง เป็นปัจจัยสำคัญในการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ลักษณะคณะรัฐมนตรีในช่วงสามปีนี้ รัฐบาลนายสัญญาเป็นคณะรัฐมนตรีแบบรัฐราชการภายใต้อิทธิพลของเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ ส่วนรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ และรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์นั้นเป็นคณะรัฐมนตรีแบบประชาธิปไตย คณะรัฐมนตรีในช่วงสามปีนี้มีความแตกต่างไปจากคณะรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจรก่อนหน้านั้นที่เป็นคณะรัฐมนตรีแบบเผด็จการทหาร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2528). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
โกสิทธิ์ เฟื่องสวัสดิ์. (2562). ขนาดของคณะรัฐมนตรีนั้นสำคัญไฉน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(2), 157-180.
จันทนา ไชยนาเคนทร์. (2544). การเมืองในสมัยนายกรัฐมนตรีพระราชทาน สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2516-2518 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ
เชาวนะ ไตรมาศ. (2543). ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปี ประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ณรงค์ พ่วงพิศ. (2527). ประวัติศาสตร์การปกครองและการเมือง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ถวิล เปลี่ยนศรี. (2523). เสถียรภาพรัฐบาลผสมของไทย : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐบาลชุด ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (17 มีนาคม 2518-12 มกราคม 2519) กับรัฐบาลชุด ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (20 เมษายน - 6 ตุลาคม 2519) (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปกครอง). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น. (2560). การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน: ชาวนา นักศึกษา กฎหมาย และความรุนแรงในภาคเหนือของไทย. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ธนาพล อิ๋วสกุล. (2558). ภูมิหลังองคมนตรีใต้พระบรมโพธิสมภาร. ฟ้าเดียวกัน, 13(2), 70-82.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2546). ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ: มติชน.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2550). บทบาททางการเมืองของจอมพลถนอม กิตติขจร พ.ศ.2506-2516 (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
นโยบายรัฐบาล : ใหม่ๆ และเก่าๆ ปนกันไป. (2517). ประชาชาติ. (20 มิถุนายน), 9-11.
นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์. (2544). รวมรายชื่อคณะรัฐมนตรีตั้งแต่คณะแรกจนถึงคณะปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. (2549). พัฒนาการระบบคณะรัฐมนตรีไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 - 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
โยชิฟูมิ ทามาดะ. (2551). ประชาธิปไตย การทำให้เป็นประชาธิปไตย และการออกจากประชาธิปไตยของประเทศไทย. ฟ้าเดียวกัน, 6(4), 98-139.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2532). กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย: บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ.2475-2530. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
รัฐบาลของประชาชน : การจัดตั้งและปัญหาที่ต้องเผชิญ. (2518). ประชาชาติ 2:65 (13 กุมภาพันธ์), 25-33.
สภานัดแรก : การประลองกำลัง. (2518). ประชาชาติ 2:66 (20 กุมภาพันธ์), 6-9.
สมเกียรติ วันทะนะ. (2536). ชนชั้นนำกับประชาธิปไตยไทย. ใน สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. 60 ปีประชาธิปไตยไทย, 58-109. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการ 60 ปีประชาธิปไตยไทย.
สมาน ทองศรี. (2522). ปัญหาด้านเสถียรภาพของรัฐบาลผสมในประเทศ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐบาลผสม ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย (รวมรัฐธรรมนูญสำเนาต้นฉบับ ฉบับที่ 1-16 ปี พ.ศ. 2475-2540). (2548). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
เสน่ห์ จามริก. (2541). การเมืองไทยกับปฏิวัติตุลาคม. ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (บรรณาธิการ). จาก 14 ถึง 6 ตุลา, 1-31. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2548). ชีวลิขิต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช.
อาสา คำภา. (2561). พลวัตสถาบันพระมหากษัตริย์เชิงเครือข่าย: ข้อสังเกตว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายชนชั้นนำไทย พ.ศ.2495-2535. วารสารไทยคดีศึกษา, 15(2). 41-88.
Morell, D., & Samudavanija, C. A. (1981). Political Conflict in Thailand: Reform, Reaction, Revolution. Cambridge, Mass.: Oelgeschlager, Gunn & Hain.
Neher, C. D. (1979). Modern Thai Politics: from Village to Nation. Cambridge. Mass.: Schenkman Pub.
Riggs, Fred W. (1966). Thailand: the Modernization of a Bureaucratic Polity. Honolulu, East-West Center Pr.
Suvanamongkol, P. (2013). Thai Government. In Thai Politics and Government During the 60-Years Reign of KIng Bhumipol Adulyadej. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.
Suwannathat-Pian, K. (2003). Kings, Country and Constitutions: Thailand's Political Development, 1932-2000. London: Routledge Curzon
Syamananda, R. (1993). A History of Thailand. Bangkok: Thai Watana Panich Press.