การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 469 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี-ระยอง เขต 18 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม และ2) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.28 โดยพบประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.12 และความต้องการในการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 โดยพบประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านทักษะสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.88 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การระบุปัญหา ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับปัญหา ขั้นที่ 3 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 การทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาและผลการแก้ปัญหา และ(4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3) ผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 และกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
กิตติธร กิจจนศิริ และอัคพงศ์ สุขมาตย์. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 10(2), 44-54.
คณิศร เสมพีช และอัคพงศ์ สุขมาตย์. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 246-261.
จันทร์ประภา ชุมชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง บรรยากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(3), 995-1010.
ฉวีวรรณ เคยพุดซา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย. วารสารจันทรเกษมสาร, 24(47), 64-78.
ณัฐฐินุช จุยคำวงศ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 15-23.
มณเฑียร ส่งเสริม, ปริญญา ทองสอน และวิมลรัตน์ จตุรานนท์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีวิทยาเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาน และคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 175-189.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ไทยแลนด์ 4.0 ของสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(1), 99-113.
ศรีผกา เจริญยศ, มาเรียม นิลพันธุ์ และมารุต พัฒผล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนว Active Learning เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์การเรียนรู้เคมีและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(109), 46-57.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2563). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุขุมาภรณ์ แคสิค และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 214-226.
อภิชัย พลายเนาว์, ชาญพัฒน์ ขำขัน และสำราญ ศรีคำมูล. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาปรัชญา : ศึกษารายกรณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย. วารสารพุทธมัคค์, 5(1), 108-117.