แนวทางการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษา เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์ และวาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และลำดับความสำคัญต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ที่ดำเนินการอยู่ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการ และสวัสดิภาพของครูและบุคลากรในสภาวะปัจจุบันเพิ่มเติมจากที่ สกสค. มีอยู่ และ 3) ศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพที่พึงประสงค์สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาตามเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย การวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรที่เป็นสมาชิก ชพค. ปี 2563 ในกรุงเทพมหานครมหานครและปริมณฑล ทั้งหมดจำนวน 1,993 คน โดยแบ่งเป็น เจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย เครื่องมืองานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified t-test และ One-way ANOVA ส่วนงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การประชุมกลุ่มย่อย โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการจัดสวัสดิการ และสวัสดิภาพตามภารกิจที่มีอยู่ของ สกสค. ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบพบว่าทุกด้านและรายข้อมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุดเป็นลำดับแรกของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ คือ ด้านการส่งเสริมสวัสดิภาพ เจเนอเรชั่นวาย คือ ด้านการส่งเสริมสวัสดิการ 2) ความต้องการสวัสดิการ และสวัสดิภาพของครูและบุคลากรในสภาวะปัจจุบันเพิ่มเติมจากที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอยู่ ในภาพรวมของทุกเจเนอเรชั่นอยู่ในระดับมาก และผลการเปรียบเทียบครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเจเนอเรชั่นต่างกัน มีความต้องการในสภาวะปัจจุบัน ด้านส่งเสริมสวัสดิการ ด้านสุขอนามัย ด้านความมั่นคง ด้านนันทนาการ ด้านการพัฒนา และด้านการประชาสัมพันธ์และการบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพที่พึงประสงค์ของครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย 3.1) แนวทางการจัดสวัสดิการตามความต้องการจำเป็น (PNI) ลำดับแรกของแต่ละด้าน 3.2) แนวทางการจัดสวัสดิการตามความต้องการระดับมากที่สุดในสภาวะปัจจุบัน ทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขสู่ความสำเร็จที่ต้องพิจารณา 3.3) แนวทางได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กิ่งพร ทองใบ. (2553). ระบบค่าตอบแทนสมัยใหม่: จากวิชาการสู่วิชาชีพ. กรุงเทพฯ. เอ็ชอาร์เซ็นเตอร์
กิตติพงษ์ พุ่มพวง และพัชรินทร์ บูรณะกร. (2557). การจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา: การประเมินผลและการศึกษาหาแนวทางใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.otep.go.th/?p= index.
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2518). การสร้างเครือข่าย(Networking) สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2564, จาก https://www. iok2u.com/index.php/article/logistics-supply-chain/1326-networking-networking.
เดชา วัฒนพงศ์ไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน: มุมมองระหว่างเจเนอเรชั่นต่างๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 31(121), 1-25.
ณัฐพล ประคุณศึกษาพันธ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2564, จาก http://jisb.tbs.tu.ac.th/vol-04-oct-dec-2017/.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2543). พรมแดนความรู้ด้านการวิจัยและสถิติ รวมบทความทางวิชาการของ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปองหทัย พึ่งนุ่ม. (2560). รูปแบบการจัดสวัสดิการของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสำหรับประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2564, จาก http://ithesisir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1437/1/56260903.pdf
พสชนัน นิรมิตรไชยนนท์ และกมลพร สอนศรี. (2560). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก: http://www.otep.go.th.
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-EJournal/ article/view/89181.
โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2564, จาก http://digitalcollect.lib.buu.ac.th/dcms/files/53990012.pdf.
สมคิด สุทธิธารธวัช. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในเทศบาลตำบลของไทย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564 จาก https://ph02.tci-thaijo.org › itm-journal › article › download.
สมนึก เพอสม. (2555). ภาพอนาคตครูไทย. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563, จาก www.gotoknow.org.
สรรเพชญ ไชยสิริยะสวัสดิ์. (2557). ความต้องการสวัสดิการยืดหยุ่นของพนักงานสำนักงานกสทช.แบ่งตามเจเนอเรชั่น. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2563, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/download/135.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). คู่มือสำนักงาน. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2563, จาก www.otep.go.th.
อุทิส ศิริวรรณ. (2559). จริต 6 กับคนเจนวาย เปรียบเทียบคน 14 อารมณ์กับคน 3 ยุค. วารสารทางเดิน, 41(174).