มาตรฐานตราสำหรับเครื่องประดับอัญมณีไทยในระดับโลก

Main Article Content

พงศภัค พรมโลก
สุภาภรณ์ ศรีดี
ปิยฉัตร ล้อมชวการ
อริชัย อรรคอุดม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษามาตรฐานตราสำหรับเครื่องประดับอัญมณีไทยในระดับโลก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมาศึกษา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก ทั้งหมด 75 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ จากการศึกษาพบว่า มาตรฐานตรา คือ ความเชื่อมั่นและศรัทธา มีองค์ประกอบ 4 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ด้านคุณค่า (Values) ที่ผู้เกี่ยวข้องรับรู้หรือรู้สึกถึงผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับตรา ประกอบด้วย ความหรูหราและมีระดับ การเป็นตราที่ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ความรับผิดชอบต่อสังคมของตรา และการประสานพลังตรา มิติที่ 2 ด้านมาตรฐานสินค้า (Product standards) ที่ผลิตและออกแบบให้มีคุณภาพคงเส้นคงวาจนได้รับความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย การออกแบบที่หลากหลาย การผลิตที่มาจากช่างฝีมือแบบสมาร์ทจิวเวลเลอร์ (Smart jeweler) และคุณภาพอัญมณีที่เป็นมาตรฐาน มิติที่ 3 ด้านความแตกต่าง (Differentiation) ที่ต้องอาศัยความเป็นเอกลักษณ์ของไทยที่โดดเด่นในสายตาของโลก ประกอบด้วย บุคลิกภาพบุคลากรของตรา ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของตรา การบริการของตรา และการส่งมอบประสบการณ์ของตรา และมิติที่ 4 ด้านลีลา (Style) คือ ท่วงท่าและทำนองของตราที่ถ่ายทอดผ่านทุกกิจกรรมของตรา ประกอบด้วย ความเป็นไทยที่ทรงคุณค่า ความเชื่อและความศักดิ์สิทธิ์ และความสุขที่แตกต่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2559). ข่าวกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2559, จาก http//news.thaipbs.or.th

ภูษณิศา เตชเถกิง. (2560). การพัฒนาแบรนด์อัญมณีและเครื่องประดับไทยก้าวไกลสู่สากลอย่างยั่งยืน (รายงานผลการวิจัย). สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). เจาะโอกาสธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจากเมกะเทรนด์โลก. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560, จาก https://www.git.or.th/articles_general.html.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). ความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสังคม จิตสำนึกของผู้บริโภครุ่นใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2560, จาก https://www.git.or.th/articles_general.html

สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2552). การแสวงหาความรู้แบบหลังนวสมัย. กรุงเทพฯ: ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พริ้นติ้ง.

Aaker, D. (1996). Building Strong Brand. New York: Free Press.

Chapman, C., & Tulien, S. (2010). Brand DNA: Dimensional Nucleic Assets. New York: iUniverse.

Keller, K. L. (2003). Strategic Brand Management: Building, Measuring, and Managing Brand Equity. Journal of Marketing, 51(1), 1-22.

Patton, M. Q. (2002). Qualitative Research & Evaluation Methods. Thousand Oaks, CA: Sage.