แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ

Main Article Content

ณัฐพงศ์ สัมปหังสิต
สันทัด ทองรินทร์
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
อนุสรณ์ มนตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ
2) วิธีการสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ 3) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ 4) สมรรถนะการสื่อสารของผู้ฝึกสอนและนักกีฬาเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ
5) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารและ 6) เสนอแนวทางการสื่อสารในการสร้างทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยสู่ความเป็นเลิศ


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัย
เชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 15 คนประกอบไปด้วย หัวหน้าผู้ฝึกสอน 3 คน และกัปตันทีม 1 คน และกลุ่มนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดซีเกมส์จำนวน 11 คนซึ่งเคยสังกัดทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ที่ชนะเลิศอันดับ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสัมภาษณ์กลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทย จำนวน 5 ทีม รวมทั้งหมด 225 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วยการสื่อสารภายในตนเองของหัวหน้าผู้ฝึกสอน กัปตันทีม และนักกีฬาเพื่อกำหนดเป้าหมาย สร้างแรงจูงใจให้กับตนเองวางแผนวิธีการดำเนินงาน การสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและลดความกดดัน การสื่อสารกลุ่มเล็กเพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ การสร้างปฏิสัมพันธ์ และกำหนดเป้าหมายร่วมกันภายในทีม ใน3ช่วงการแข่งขัน คือ ก่อน ระหว่าง และ หลังการแข่งขัน 2)วิธีการสื่อสาร พบว่าควรใช้วิธีการสื่อสารแบบผสมผสานทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาทั้ง 3 ช่วงการแข่งขันแต่ในระหว่างการแข่งขันมีการใช้อวัจนภาษามากที่สุด 3) กลยุทธ์การสื่อสาร พบว่า มี 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การกำหนดจุดมุ่งหมาย และการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารได้แก่ การสื่อสารผ่านกิจกรรม การสั่งการ การปลูกฝั่งภาพจำ การสร้างโนภาพและจินตภาพ การสร้างแรงจูงใจเพื่อการต่อยอดความเป็นเลิศ 4) หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยควรมีสมรรถนะการสื่อสารมากที่สุด รองลงมา คือ การสร้าแรงจูงใจและการเป็นผู้นำ 5) ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารพบว่า  การสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีมมีผลต่อความสัมพันธ์ของทีมมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนมีผลต่อการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการได้ และความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของนักกีฬามีผลต่อการสื่อสารระหว่างนักกีฬาภายในทีม 6) แนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างทีมกีฬาฟุตบอลสู่ความเป็นเลิศนอกจากประกอบด้วย สมรรถนะทางกาย จิตใจ วิธีการ และกลยุทธ์ ตามแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติและแนวทางของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติแล้วควรมีการใช้การสื่อสารที่ประกอบด้วยรูปแบบ วิธีการ และกลยุทธ์การสื่อสารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงการแข่งขันด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภัค ดับทุกข์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้ฝึกสอนนักกีฬาแบดมินตันทีมชาติไทยกรณีศึกษา เมย์ รัชนก อินทนนท์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ

จันทิมา เขียวแก้ว และ นฤมล รุจิพร. (2545). การสื่อสารกับงานสารสนเทศ ใน เอกสารการชุดวิชาการสื่อสาร หน่วยที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชิตาภา สุขพลํา. (2548). การสื่อสารระหว่างบุคคล. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ชูศักดิ์ พัฒนมนตรี.(2546). จิตวิทยาการกีฬาและการนำไปใช้. สารวิทยาศาสตร์การกีฬา, 4(43), 14-15.

ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล. (2563). การตรวจสอบเอกสารอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เชิงอภิมานการใช้มโนภาพเพื่อส่งเสริมแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 63(48), 74-91.

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ (2548) การประยุกต์นิเทศศาสตร์ด้านการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการประยุกต์นิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนา หน่วยที่ 2. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บุษบา สุธีธร. (2548). ทฏษฎีการสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล. ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิชัย วงใหญ่. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.

เสนาะ ติเยาว์. (2548). การสื่อสารในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัชรินทร์ ปานอุทัย. (2555). ผลของการฝึกทักษะทางจิตใจที่มีต่อความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกอล์ฟอาชีพไทย.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 12(2), 117-129

สุพัชรินทร์ ปานอุทัย. (2556). จิตวิทยาการกีฬา (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ (2548). สมรรถนะหลักของผู้บริหาร. สืบค้นจาก http://www.ptu.ac.th/StudentServe/input/thesis.pdf

Abeza, G., O’Reilly, N., & Nadeau, J. (2014). Sport Communication: A Multidimensional Assessment of the Field’s Development. International Journal of Sport Communication, 7(3), 289-316.

Barrett, D. (2014). Leadership communication (4th ed.). New York: Macgraw-Hill Education.

Bird, H. (2017). Bill Belichick Was Not Happy with a Question about the Steelers. Retrieved January 25, 2018, From https://www.boston.com/sports/new-england-patriots/2017/12/12/bill-belichick-was-not-happy-with-a-question-about-the-steelers

Cranmer, G. A. (2014). A Continuation of Sport Teams from an Organizational Perspective: Predictors of Athlete–Coach Leader–Member Exchange. Journals Permissions Communication & Sport, 4(1), 43-61. DOI: 10.1177/2167479514542151.

Devito, J. (2017). Interpersonal Massage. (4th ed.). Upper Saddle River. NJ: Pearson Education.

Lausic, D. (2005). Explicit and Implicit Types of Communication: A Conceptualization of Intra-Team Communication in the Sport of Tennis (Master Degree). The Florida State University College of Education.

Littlejohn, S. & Foss, K. (2010). Theories of Human Communication (10th ed.). Belmont. Ca: Thomson/ Wadsworth.

Nordbrock, M. J. (2013). Can’t We All Just Get Along? The Impact of Goal Orientation on the-Coach-Athlete Relationship and Coach-Athlete Communication (Master’s of Psychology). University of Tennessee at Chattanooga. USA.

O'Boyle, I., Murray, D., & Cummins, P. (2015). Framing leadership in Sport. New York: Routledge.

Pedersen, P. M., Laucella, P., Geurin, A., & Kian, E. (2017). Strategic Sport Communication Model (2 th ed.). United State: Human kinetic.

Porreca, R. P., Stephen L., D., & Daphne, B. (2015). A Study of the Entry-Level Competencies Considered Most Valuable by Employers in the Big Four (NBA, NFL, NHL, MLB) Sports. Dissertation the Faculty of the United States Sports Academy ProQuest LLC (2016).