การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

Main Article Content

ปิยฉัตร ล้อมชวการ

บทคัดย่อ

การติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เป็นการวิจัยรูปแบบผสม (mix methods) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรในหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ตามประกาศ กสทช. เรื่องการอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 (2) เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ประเมิน และสรุปผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (3) เพื่อนำผลการตรวจสอบติดตามและประเมินผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ ประกอบการเสนอแนวทางพัฒนาและต่อยอดส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ภายใต้สภาพการณ์เทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน


              กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ประกาศฯ จำนวน 1,008 คน กลุ่มผู้รับชม จำนวน 409 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 84 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบที่เก็บข้อมูลด้วยวิธีการออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติเชิงอ้างอิง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย และการประชุมเสวนา การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรที่เป็นผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ได้ผ่านการพัฒนาในหลักสูตรผู้ประกาศฯ ได้โอกาสในการเพิ่มเครือข่ายและความเชื่อมั่นในวิชาชีพในระดับมาก (2) โครงการฯ สามารถถ่ายทอดบทบาทของ กสทช. ไปยังผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี ทำให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาเห็นความสำคัญของ กสทช. ในบทบาทและหน้าที่ควบคุมและกำกับสื่อให้มีความเป็นมาตรฐาน การดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. ช่วยลดข่าวปลอม และเป็นแบบอย่างด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแหล่งข่าวคุณภาพ รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล การทำหน้าที่อย่างมีจรรยาบรรณ นำเสนอข่าวอย่างป็นกลาง และ (3) ข้อเสนอในการพัฒนาต่อยอดด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสื่อสาร โดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริง อีกทั้งเสนอให้ กสทช. กำหนดเป็นกฎหมายเพื่อการกำกับดูแลการทำหน้าที่ของผู้ประกาศให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ร่วมกัน และกสทช.ควรมีการออกแบบระบบและกลไกลในการสื่อสารเพื่อการประสานงาน การต่อยอด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรที่ทำหน้าที่ผู้ประกาศและทุกกลุ่มที่เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการติดตามประเมินผลและประเมินผลการปฏิบัติงาน. (2562). รายงานการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการ ปฏิบัติงาน กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

จิตตินันท์ ตั้งประเสริฐ. (2562). การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อกับการบริหารงานกรมประชาสัมพันธ์ในยุคประเทศไทย 4.0. (ดุษฎีนิพนธ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพฯ.

ธนิสสรา สุวรรณนันท์. (2552). การคัดเลือกและการพัฒนาผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

นวนันท์ บำรุงพฤกษ์. (2560). เตรียมพร้อมเป็นผู้ประกาศข่าว นักจัดรายการวิทยุมืออาชีพ. สืบค้นจาก http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=5163&qid=13400:2560

พิรงรอง รามสูต. (2556). การกำกับดูแลเนื้อหาอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาณุพงษ์ ทินกร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลและแนวทางการกำกับดูแล (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ศศินา วิมุตตานนท์. (2557). เตรียมพร้อมเป็นผู้ประกาศข่าว-นักจัดรายการวิทยุมืออาชีพ. สืบค้นจาก http://www.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=5163&qid=13400.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). ประกาศคณะกรรมการกิจการประจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อการอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการประขายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 1 : 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สุปราณี ศิริสวัสดิ์ชัย. (2562). สมรรถนะของผู้ประกาศในสื่อวิทยุและโทรทัศน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 13(1), 180-200.

Bruce, D. (2011). Logic Model in Participatory Evaluation. Retrieved from http://www.pointk.org/resources/files/LogModelParticEval.pdf.

Colm Murphy. (2012). Changing by the Click: The Professional Development of UK Journalists, School of Communications and Media. Ulster University, Cromore Rd, Coleraine BT52 1SA: Northern Ireland, UK.

Galina Melnik and Konstantin Pantserev. (2012). Digitalization of the Communication Environment as an Incentive for Innovation in Media Education. Russian Federation: St. Petersburg State University.

Hayes, H., Parchman, M.L. and Howard, R. (2011). A Logic Model Framework for Evaluation and Planning in a Primary Care Practice-Based Research Network (PBRN). JABFM, 24(5), 576-582

UNESCO. (2011). Towards Media and Information Literacy Indicators. Bangkok, Thailand.