รูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) พัฒนารูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 3) ประเมินผลการนำรูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกไปสู่การปฏิบัติ มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตร ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน จำนวน 210 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานหลักสูตรสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูผู้สอน จำนวน 60 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาและประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 20 คน และระยะที่ 3 การประเมินผลการนำรูปแบบหลักสูตรไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 2) ผลการพัฒนารูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (2) โครงสร้างเนื้อหาสาระในการพัฒนา (3) กระบวนการในการพัฒนา และ(4) แนวปฏิบัติของสถานศึกษา ส่วนผลการประเมินรูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 และ3) ผลการประเมินการนำรูปแบบหลักสูตรโรงเรียนนวัตกรรมการศึกษา 4.0 พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกไปสู่การปฏิบัติ พบว่า ครูมีคะแนนด้านความรู้ คิดเป็นร้อยละ 83.06 และด้านทักษะการปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 85.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.58
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กัมพล เจริญรักษ์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารวิชาการ สพฐ, 10(1), 12-24.
ขวัญใจ อุณหวัฒนไพบูลย์. (2560). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาไทย. วารสารวิชาการอุตสาหกรรม, 11(2), 27-45.
ชรินทร์ มั่งคั่ง, กรวิชญ์ จิตวิบูลย์, เตชินี ทิมเจริญ, และนิติกร แก้วปัญญา. (2564). นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรด้วยวิธีการเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาหลักสูตรท้องถิ่นประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(2), 630-644.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีรยาสาส์น.
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พ.ร.บ. พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ละดา ดอนหงษา. (2564). การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน ในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 663-674.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง และภัทราวรรณ จันทร์เนตร์. (2564). การศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 103-121.
วัชรินทร์ กองสุข, สุธาสินี บุญญาพิทักษ์, และวัลลยา ธรรมอภิบาล อินทนิน. (2563). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 (381-398). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สภาณี ชำนาญศรี และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2564). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารราชพฤกษ์, 19(2), 142-150.
สมพงษ์ จิตระดับ สุอังคะวาทิน และชุติมา ชุมพงศ์. (2562). Sandbox สตูล นวัตกรรมปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2561). ประกาศจัดตั้งสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (สบน.): หน่วยงานกลางส่งเสริม สนับสนุนและประสานงาน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทำหน้าที่เกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของคณะกรรมการนโยบาย ตาม พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Abdelaziz. Hamdy A. (2005). Instructional Practices and Applications of Computer Technology and Multimedia: A Model Teaching Business Education. Dissertation Abstracts International, 65(10), 3668-A.
Sambell, K. & McDowell, L. (2009). The Construction of the Hidden Curriculum: Messages. New York: McGraw-Hill.
Snyder, C. R. (2003). Hope Theory: Rainbows in Mind. Psychological Inquiry, 13, 249-276.