การประเมินทักษะดิจิทัลของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อประเมินระดับทักษะด้านดิจิทัลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล 3) ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร 4) ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ 5) ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ (6) ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล และ 7) ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล


การวิจัยเรื่องนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวาง ประชากร คือ บุคลากรของสายวิชาการจำนวน 14 หน่วยงาน รวม 398 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คนจากสูตรของทาโร ยามาเน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบเป็นระบบ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะดิจิทัล โดยเป็นแบบประเมินตนเอง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ มีระดับน้อย มีระดับกลาง และมีระดับมาก วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลทำผ่านโปรแกรมออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ 1) ผลการประเมินทักษะดิจิทัลใน 7 ด้าน พบว่า (1) ความสามารถด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.00 (2) ความสามารถด้านการควบคุมกำกับ และการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบายและมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.12 (3) ความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับศักยภาพองค์กร มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.80 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.00  (4) ความสามารถด้านการออกแบบกระบวนการและการให้บริการด้วยระบบดิจิทัลเพื่อการพัฒนาคุณภาพงานภาครัฐ มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.65 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 (5) ความสามารถด้านการบริหารกลยุทธ์และการจัดการโครงการ มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.60 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.00 (6) ความสามารถด้านผู้นำดิจิทัล มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.67 หรือคิดเป็นร้อยละ 55.67 และ (7) ความสามารถด้านการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล มีทักษะความสามารถเฉลี่ยอยู่ที่ 1.70 หรือคิดเป็นร้อยละ 56.67 โดยผลการประเมินทักษะดิจิทัลทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2561-2580. (2562, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 47ก, หน้า 1.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2565). แผนการปรับเปลี่ยนทางดิจิทัลของมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2565-2569. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

Aagaard, T., & Lund, A. (2019). Digital agency in higher education: Transforming teaching and learning. Taylor & Francis.

Chechurin, L. (2022). Digital Teaching and Learning in Higher Education: Developing and Disseminating Skills for Blended Learning. Springer International Publishing

Di Giacomo, D., Vittorini, P., & Lacasa, P. (2019). Digital Skills and Life-long Learning: Digital Learning as a New Insight of Enhanced Learning by the Innovative Approach Joining Technology and Cognition. Frontiers Media SA.

Ehlers, U. D. (2020). Future Skills: The Future of Learning and Higher Education. Germany: Ulf-Daniel Ehlers Karlsruhe.

Gupta, S. L., Kishor, N., Mishra, N., Mathur, S., & Gupta, U. (2021). Digitalization of Higher Education using Cloud Computing: Implications, Risk, and Challenges. CRC Press.

John, P., & Wheeler, S. (2015). The Digital Classroom: Harnessing Technology for the Future of Learning and Teaching. Taylor & Francis.

Ordóñez de Pablos, P., & Lytras, M. D. (2020). IT and the Development of Digital Skills and Competencies in Education. IGI Global.

Soumyasanto, S. (2020). Digital HR Strategy: Achieving Sustainable Transformation in the Digital Age, Kogan Page.

Zhao, Y., Llorente, A. M. P., & Gómez, M. C. S. (2021). Digital Competence in Higher Education Research: A Systematic Literature Review. Computers & Education, 168, 104212.