การติดตามและประเมินผลนโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผลนโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาค พื้นดินในระบบดิจิตอล** ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา ติดตามและประเมินผลนโยบาย กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในช่วงปีระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2562- ปัจจุบัน) เรื่อง “นโยบายการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อทดลองส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเพื่อการศึกษา” และ 2) เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะต่อกสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ 1) ประชาชนทั่วไป นักเรียน บุคลากรการ ศึกษา โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,000 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของประชากรที่ศึกษาแบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาคๆ ละ 400 คนคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้วยการประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กลุ่มย่อย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา สถิติเชิงอ้างอิง และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเห็น ความต้องการและความคาดหวังเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากคลื่นฯโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มที่พบว่ามีการใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ กลุ่มผู้ปกครอง กลุ่มครู กลุ่มบุคลากรการศึกษา และกลุ่มนักเรียนตามลำดับ โดยพบว่าสามารถใช้คลื่นเพื่อประโยชน์ในการเรียนได้จริง สามารถเรียนรู้ต่อได้ด้วยตนเอง ส่วนประเด็นปัญหาที่พบมากที่สุดคือ อุปกรณ์ เครื่องมือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่มีและราคาสูง กล่องรับสัญญาณคลื่น ตามด้วยการไม่ทราบเกี่ยวกับช่องทางการเข้าถึง และการออกแบบ การสร้างสรรค์รายการที่น่าสนใจ และ 2) ข้อเสนอการขับเคลื่อนต่อเรียงตามลำดับคือ การขับเคลื่อนเชิงนโยบายและแนวทางกำกับดูแล การพัฒนาและออกแบบแพลตฟอร์มระดับชาติเพื่อการศึกษากลางที่ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยการจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจนและนำไปสู่การสนับสนุนและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ สัญญาณอินเทอร์เน็ต การพัฒนาเนื้อหา หลักสูตร การพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องทุกระดับ การพัฒนาการออกแบบสร้างสรรค์รายการและวิธีการเรียนการสอนที่เข้าสมัย การสร้าง สรรค์สื่อ การใช้กลไกทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้ทั่วถึงมากขึ้นกับทุกกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทุกคนในสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการสนับสนุนและการส่งเสริมเชิงนโยบายที่ชัดเจนคือพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการติดตาม และประเมินผลการดำเนินการ และการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ประจำปี 2563 ด้านกิจการโทรทัศน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.nbtc.go.th/About/history3.aspx.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). การปรับปรุงโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลเพื่อรองรับการเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.nbtc.go.th/News/Information/39853.aspx.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2563). แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2563-2568). สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.nbtc.go.th/Information/MasterPlan/47301.aspx
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก https://onde.go.th/view/1/นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม/TH-TH