การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

สกล วิแก้วมรกต
ดวงเดือน แสงแพร้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเปรียบเทียบระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแต่ละชั้นปี และศึกษาความสัมพันธ์ของระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองกับผลการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ชั้นปีละ 120 คน รวมจำนวน 480 คน การสุ่มตัวอย่างใช้แบบโควต้า ทำแบบประเมินตนเองซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค แยกด้านการตระหนักเกี่ยวกับความพร้อมที่จะเรียนรู้ (.89) ด้านกลยุทธ์การเรียนรู้ (.87) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (.88)  ด้านการประเมินการเรียนรู้ (.91)  และด้านทักษะระหว่างบุคคล (.90)  ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และค่าความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของกลุ่มตัวอย่างชั้นปี 4 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างชั้นปี 1-3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) โดยกลุ่มตัวอย่างชั้นปี 1 มีระดับคะแนนน้อยที่สุด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างชั้นปี 2 มีระดับคะแนนสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างชั้นปี 3 ยกเว้นในทักษะด้านความร่วมมือ คือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านทักษะระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างระดับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและผลการเรียนเฉลี่ย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา พิชัยคำ. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 1-12.

ธีระพร อุวรรณโณ. (2535). เจตคติ: การศึกษาตามแนวทฤษฏีหลัก. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรบดี นิดรกูล. (2548). การเสพสื่อลามกอนาจารของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วรสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 8-13.

พิทักษ์ ตรุษทิม. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบและกระบวนการให้บริการของกรุงเทพมหานคร ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานเขตยานนาวา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์, และ ยุวดี ฦาชา. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วรสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.

รุ่งอรุณ ไสยโสภณ. (2552). การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Directed Learning: SDL). ใน คัมภีร์กศน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สมชาย รัตนทองคํา. (2550). เอกสารประกอบการสอน การสอนทางกายภาพบําบัด. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2564, จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/1philos.pdf

อนันต์ บุญสนอง, และประคอง สุคนธจิตต. (2560). ทฤษฏีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่กับแนวทางการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพิเศษ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2(2), 47-58.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2551). พัฒนาการการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Abdullah, M. H. (2001). Self-Directed Learning. ERIC Digest. Bloomington, IN: Indiana University, ERIC Clearinghouse on Reading, English and Communication. Retrieved March, 2001, from www.ericdigests.org/2002-3/self.htm

Assael, H. (1998). Consumer Behavior and Marketing Action. Ohio: SouthWestern.

Best, J. W. (1983). Research in Education. New Jersey: Prentice Hill.

Boyer, S. L., Edmondson, D. R., Artis, A. B., and Fleming, D. (2014). Self-Directed Learning: A Tool for Lifelong Learning. Journal of Marketing Education, 36, 20-32. Retrieved Mar, 2021, from https://doi.org/10.1177/0273475313494010

Brookfield, S.D. (2005). Discussion as the Way of Teaching: Tools and Techniques for Democratic Classrooms (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

Dave, R.H. (1970). Developing and Writing Educational Objectives (Psychomotor Levels). Educational Innovators Press.

Lunyk-Child, O., Crooks, D., Ellis, P., Ofosu, C., O'Mara, L. and Rideout, E. (2001). Student and Faculty Perceptions of Self-Directed Learning. Journal of Nursing Education, 40(3), 116-124.

Kasworm, C. (2011). The Influence of the Knowledge Society: Trends in Adult Higher Education. Journal of Continuing Higher Education, 59(2), 104-107. Retrieved March, 2021, from https://www.learntechlib.org/p/72393/.

Kendler, T. S. (1949). The Effect of Success and Failure on the Recall of Tasks. Journal of General Psychology, 41, 79–87. Retrieved Mar, 2021, from https://doi.org/10.1080/00221309.1949.9710057

Knowles, M. S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago: Follett Publishing Company.

Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: from Pedagogy to Andragogy. Englewood Cliffs: Prentice Hall/Cambridge.

Williamson, S. N. (2007). Development of a Self-Rating Scale of Self-Directed Learning. Nurse Researcher, 14(2), 66-83.