ผลการจัดการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมและแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Main Article Content

ณัฏฐพร ผาแก้ว
สุรีย์พร สว่างเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ดำเนินการโดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและทดสอบหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อพัฒนาแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และแบบประเมินแรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและทดสอบค่าทีแบบกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลังเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนเรียนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) แรงจูงใจต่อการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลังเรียนด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบสูงกว่าก่อนเรียนและอยู่ในเกณฑ์ระดับดี  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา กอสุขทวีคูณ. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

ชัยวัฒน์ พันธ์รัศมี, สมตระกูล ราศิริ, นันทวรรณ ธีรพงศ์, พนารัตน์ เจนจบ และสมาภรณ์ เทียนขาว. (2563). การพัฒนารูปแบบการคิดเชิงสร้างสรรค์นวัตกรรมต่อความพร้อมในการทำงานเป็นทีมโดยการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 158-169. สืบค้นจาก https://shorturl.asia/d1437

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้ Design Thinking. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2564, จาก https://hcd-innovation.teachable.com/courses/author/290247

ศุภราภรณ์ สุบงกช. (2559). "สสวท." เติมเต็มสะเต็มศึกษา เสริมแกร่ง นักเรียนมีทักษะผู้ประกอบการ. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.kroobannok.com/79525

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.ctech.ac.th/pdf/Tdoc.pdf

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20191022060242.pdf

Catalina Foothills School District. (2018). Creativity and Innovation Rubric Grades 9-12. Retrieved July 14, 2021, from https://shorturl.asia/szo8v

The Stanford d. school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). An Introduction to Design Thinking PROCESS GUIDE. Retrieved from https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf