การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

วราภรณ์ สุขแสนชนานันท์
วุฒิภาค พูลบัว
กัลย์ ปิ่นเกษร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแบบโครงสร้างองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปัจจุบันในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 และยังคงมีสถานภาพนักศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 400 คน วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างของปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกลประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ มีความสำคัญเท่ากัน โดยมีน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.945, 0.926, 0.923, 0.918, 0.914, 0.827, 0,808, 0.712 และ 0.686


ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลองค์ประกอบเชิงประจักษ์พบว่า ค่าสถิติไคสแควร์ (X2) เท่ากับ 444.466 ที่องศาอิสระ 442 มีความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.458 ค่าสถิติไคสแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.006 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) เท่ากับ 0.936 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) เท่ากับ 0.909 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนเปรียบเทียบ (Comparative Fit Index: CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือ (Root Mean square Residual: RMR) เท่ากับ 0.014 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) เท่ากับ 0.004 แสดงว่า โมเดลองค์ประกอบปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ แสดงว่า ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการการศึกษาทางไกล หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ข้อกำหนดของหลักสูตร โครงสร้างและเนื้อหาของหลักสูตร กลยุทธ์การเรียนและการสอน การประเมินผู้เรียน คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน คุณภาพผู้เรียน การสนับสนุนและการให้คําปรึกษาผู้เรียน และสิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มสธ. (2563). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/main/StouPlan.html

มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์, และยุวดี ฦาชา. (2551). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.

ASEAN University Network. (2020). Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0. Retrieved from https://www.aunsec.org/application/files/2816/7290/3752/Guide_to_AUN-QA_Assessment_at_Programme_Level_Version_4.0_4.pdf

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Ghorban, H. (2019). Mahalanobis Distance and Its Application for Detecting Multivariate Outliers.Facta Universitatis Series Mathematics and Informatics, 34(3), 583-595.

Milfont, T.L., & Duckitt, J. (2004). The Structure of Environmental Attitudes: A First-and Second Order Confirmatory Factor Analysis. Journal of Environmental Psychology, 24(3), 289–303.

Mukhaiyar, R., Muskhir, M., Hambali, & VP Dolly. (2019). Curriculum Evaluation based on AUN-QA Criterion for the Case Study of the Electrical Engineering Vocational and Educational (EEVE) Study Program. In International Conference on Education, Science and Technology 2019 (pp.1-4). Padang, Indonesia: IOP Publishing Ltd.

Ong, J. (2017). The Impact of ASEAN University Network-Quality Assurance (AUN-QA) Assessment on the Quality of Educational Programmes. in Theory and Practice of Quality and Reliability Engineering in Asia Industry. Singapore: Springer.

Pramono, S.E., Solikhah, B., Widayanti, D.V., & Yulianto, A. (2018). Strategy to Improve Quality of Higher Education Institution Based on AUN-QA Standard. International Journal for Innovation Education and Research, 6(9), 141-152.

Yamane, T. (1970). Statistic: An Introductory Analysis (2nd ed). New York: Harper & Row.