กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย

Main Article Content

ปิยฉัตร ล้อมชวการ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหามาตรการทางกฎหมาย แผน นโยบายที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสาร 2. เพื่อศึกษาประเภทสื่อ 3. เพื่อศึกษาเนื้อหาสาร 4. เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย


แหล่งข้อมูลเชิงเอกสาร ได้แก่ 1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2) นโยบาย ของกรมกิจการผู้สูงอายุ 3) แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ 4) ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 5) มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ มติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2564 6) ประมวล กฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 7) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, 2560 8) ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อน 9) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 19 เล่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป


ผลการวิจัย พบว่ากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุของรัฐบาลไทย มี ดังนี้ 1. วิธี การสื่อสาร ได้แก่ 1) การกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ 2) การผลักดันนโยบาย มาตรการ กลไก 3) การปรับเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อบังคับ ให้เอื้อต่อการทำงานด้านผู้สูงอายุ 4 ) พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมประชากรรองรับผู้สูงอายุ 5) พัฒนาระบบการดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิสำหรับผู้สูงอายุ 2. ประเภทสื่อ ได้แก่ สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรม สื่อมวลชน 3. เนื้อหาสาร ได้แก่ การสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับหลักประกันยามชราภาพ กำหนดเนื้อหาสารเกี่ยวกับมาตรการเพื่อกระตุ้นสังคมกตัญญูพัฒนากำลังคนภาครัฐให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติ เพื่อการเป็นประชาชนสูงอายุที่มีศักยภาพ 4. ช่องทางการสื่อสาร ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ชุมชน 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หุ้นส่วน ภาคี หน่วยงานภาครัฐ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562) สังคมไทยไร้ความรุนแรง (Flagships Project) ครั้งที่ 1/2562. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/gallery/1/2074

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ มติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/33/816

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/laws/1/33/842

ธนธร ภูมี. (2559). การทบทวนมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การกระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ (การค้นคว้าอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010700_5476_5173.pdf