ความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้

Main Article Content

จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต แขนงหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต หลักสูตรและการสอนที่ลงทะเบียนชุดวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 123 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ มอร์แกน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อยพบว่าด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการนิเทศผ่านสื่อสังคมมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านการให้คำปรึกษาและการสื่อสาร และด้านการสอนงานเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูและการนิเทศ 2) นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ajinsamajarn, C. (2004). Educational Supervision. Bangkok: K&P BOOKS Publisher.

Damjub, W. (2019). Social Media for Teaching and Learning in the 21st Century. Journal of Liberal Arts, Maejo University, 7(2), 143-159.

Dong, G., Chiu, D.K.W., Huang, P.-S., Ho, K.K.W., Lung, M.M.-w., & Geng, Y. (2021) Relationships between Research Supervisors and Students from Coursework-Based Master’s Degrees: Information Usage under Social Media. Information Discovery and Delivery, 49(4), 319-327

Harris, B.M. (1985). Supervision Behavior in Education (2nd ed). Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Laohacharatsaeng, T. (2007). Next-Generation Learning 1: Section Essential Characteristics of the Tweenies Learners. Chiang Mai: Information Technology Service, Chiang Mai University.

School of Educational Studies. (2020). Graduate Diploma Program in Curriculum and Instruction. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Vaiz, O., Minalay, H, Türe, A., Ülgener, P., Yaşar, H., & Bilir, A.M. (2021). The Supervision in Distance Education: E-Supervision. The Online Journal of New Horizons in Education, 11(3), 137-140.