About the Journal

วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT Journal) เป็นวารสารทางวิชาการ ของสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  2. เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยทางด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  3. เป็นสื่อกลางในการแสดงความคิดเห็น การเสนอทัศนะด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  4. เผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม และผลงานด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ขอบเขตเนื้อหาการตีพิมพ์

บทความวิจัยและบทความวิชาการ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่

  1. เทคโนโลยีการศึกษา
  2. นวัตกรรมการศึกษา
  3. สื่อการศึกษา
  4. สื่อดิจิทัลและแพลตฟอร์มทางการศึกษา
  5. การจัดการความรู้
  6. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
  7. หลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัล, ออนไลน์
  8. สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ประเภทบทความที่รับ

ตีพิมพ์ผลงาน 2 ประเภท คือ

  1. บทความวิจัย (research article)
  2. บทความวิชาการ (academic research)

กำหนดการเผยแพร่ 

กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ และตีพิมพ์ทุกๆ 6 เดือน/ปี

ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน

ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม

รูปแบบการกลั่นกรองบทความก่อนลงตีพิมพ์ (Peer review)

บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน  โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review) โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอก จะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ส่วนบทตวามผู้นิพนธ์ภายใน ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ 

ภาษาที่รับตีพิมพ์ (Language)

  • ภาษาไทย
  • ภาษาอังกฤษ

เจ้าของวารสาร (Publisher)

  • สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การเสนอบทความ

ผู้ที่สนใจนำเสนอบทความ วิจัย และบทความวิชาการส่งวารสาร ECT Journal

ขอเชิญส่งบทความของท่านมาได้ที่เว็บไซต์

https://www.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/index

แบบฟอร์มบทความของวารสาร

- Template บทความวิจัย

- Template บทความวิชาการ

หมายเหตุ ต้องนำเสนอตามรูปแบบการพิมพ์ของวารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT Journal) ที่กำหนดไว้ 

รูปแบบการอ้างอิงบทความของวารสาร

  • วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ใช้รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมเป็นแบบ APA7th Edition (American Psychological Association)
  • ควรให้ความสำคัญกับการอ้างอิง ไม่ควรอ้างอิงบทความหรือเนื้อหาเวบไซต์ส่วนบคคุลบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงเว็บ wikipedia และหากเป็นการอ้างอิงเว็บไซต์หน่วยงาน ให้ระบุ URL และวันที่เข้าถึง
  • เอกสารอ้างอิงจะต้องครอบคลุมในเนื้อหาที่ใช้ในบทความ หากไม่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความควรตัดการอ้างอิงนั้นออก
  • ให้ความสำคัญกับการอ้างอิงบทความที่ได้รับการตีพิมพ์หรือบทในหนังสือที่ผ่านการประเมิน ไม่ควรย้อนหลังเกิน 10 ปีจากวันที่เขียน

ค่าธรรมเนียม

หมายเหตุ ทั้งนี้การชำระเงินไม่ได้การันตีการตีพิมพ์ลงวารสาร แต่ขึ้นอยู่กับผลการพิจารณาของผู้พิจารณาบทความและกองบรรณาธิการ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

รองศาสตราจารย์ ดร.เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม

e-mail: [email protected] หรือ [email protected]

โทร. 02-504-7849 โทรสาร 02-504-7309