Publication Ethics

จริยธรรมการตีพิมพ์

  1. เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เจ้าของผลงานมีการคิด ค้นคว้า ทบทวนวิเคราะห์ สรุป เรียบเรียงและอ้างอิงข้อมูล โดยผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
  2. บทความวิจัยและบทความทางวิชาการทุกเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ เป็นบทความที่ได้รับการตรวจอ่านประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จากภายนอกและภายในสถาบันตามหลักเกณฑ์การตรวจประเมินอย่างน้อย 3 ท่าน
  3. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ ต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระกว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์สในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่า มีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวในการละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของวารสารห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากทางกองบรรณาธิการ
  4. หากผู้อ่านพบเห็นบทความใดของวารสารที่มีการลอกเลียนแบบโดยปราศจากการแอบอ้างหรือมีการทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลงานของผู้เขียน ถือเป็นการโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) โปรดแจ้งกองบรรณาธิการ
  5. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการรับพิจารณาบทความจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสัตว์ทดลอง เฉพาะงานวิจัยที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ทดลองเท่านั้น โดยผู้ส่งต้องแนบหลักฐานการรับรองจากคณะกรรมการมาพร้อมบทความที่ส่งให้กับกองบรรณธิการ

 

มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

          บรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีความรับผิดชอบ ดังนี้

  • 1) ปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอ
  • 2) รับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
  • 3) สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ
  • 4) คงไว้ซึ่งความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ
  • 5) เต็มใจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดการตีพิมพ์ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอด-ถอนบทความ และการขออภัย หากจำเป็น

หน้าที่ของบรรณาธิการของวารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ต่อผู้เขียน

  • 1) บรรณาธิการมีกระบวนการดำเนินการ เพื่อให้แน่ใจได้ถึงคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองมาตรฐานของบทความวิชาการและบทความวิจัยที่ตีพิมพ์
  • 2) การตัดสินใจการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิชาการและบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์และสอดคล้องกับขอบเขตของวารสาร นอกจากนี้ วารสารยังให้ความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และคุณภาพทางวิชาการของบทความดังกล่าว 
  • 3) วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้ หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ
  • 4) บรรณาธิการได้จัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ในทุกประเด็นที่ที่ผู้นิพนธ์ควรรับทราบเกี่ยวกับการตีพิมพ์ในวารสาร และเว็บไซต์ ซึ่งได้มีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • 5) หากบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว ถือว่าเป็นการสิ้นสุด บรรณาธิการจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความดังกล่าวอีกในภายหลัง

 

หน้าที่ของบรรณาธิการต่อผู้ประเมินบทความ

  • 1) บรรณาธิการได้มีการจัดพิมพ์คำแนะนำแก่ผู้ประเมินบทความในทุกประเด็นที่ควรทราบ และได้มีการปรับปรุงคำแนะนำให้ทันสมัยอยู่เสมอ
  • 2) บรรณาธิการมีระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ประเมินบทความ โดยผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อและข้อมูลของผู้ประเมินบทความ
  • 3) บทความที่ส่งเข้ามายังวารสารมีกระบวนการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะได้รับการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน

การร้องเรียน

  • เมื่อมีการร้องเรียนเข้ามา บรรณาธิการจะดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฎตามแนวทางของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์

 

การรับรองความถูกต้องของผลงานทางวิชาการ

  • 1) เมื่อมีการรับรู้ว่ามีความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือเป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการจะได้ดำเนินการแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน
  • 2) หากปรากฎการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการจะดำเนินการเพิกถอนบทความนั้นด้วยกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยการเพิกถอนดังกล่าวจะมีการแจ้งไปยังผู้อ่านและระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ให้ทราบด้วย

ผลประโยชน์ทับซ้อน

  • 1) บรรณาธิการมีกระบวนการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระทางวิชาการ โดยพิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการรับบทความเพื่อตีพิมพ์โดยยึดคุณภาพและความเหมาะสมกับผู้อ่านมากกว่าผลตอบแทนทางการเงินหรือปัจจัยอื่นใด
  • 2) บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน(การขัดกันด้านผลประโยชน์) ของบรรณาธิการเองรวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ

 

          ปรับปรุงจาก  มาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (COMMITTEE ON PUBLICATION ETHICS- COPE) ซึ่งต้นฉบับแปล โดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre)