ผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริงต่อพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ของนิสิตปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตปริญญาตรี ที่มีคะแนนแบบทดสอบการติดเกมออนไลน์ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 16 คน และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบทดสอบการติดเกมออนไลน์และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง กลุ่มทดลองได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที กลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามปกติ การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลอง และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกลุ่มทดลอง ระหว่างระยะเวลาก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ ระยะหลังการทดลองต่ำกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และนิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มทฤษฎีเผชิญความจริง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในระยะหลังการทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ชาญวิทย์ พรนภดล. (2556 ข). บทวิเคราะห์งานวิจัยสถานการณ์เด็กติดเกม, 7 เมษายน 2562. https://healthyamer.net/download/academic
ชาญวิทย์ พรนภดล และเอษรา วสุพันธ์ธจิต. (2558). จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล
นิตยา ศรีภูธร. (2555). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงเพื่อพัฒนาความ รับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีกระนวนวิทยาคม สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปุริมาพร แสงระยับ. (2553). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเผชิญความจริงที่มีต่อการตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
มนลดา ยูโซะ. (2557). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนิสิตมุสลิมระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาณี ประนามะ. (2546). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีการเผชิญความจริงเพื่อลดพฤติกรรมการติดสารเสพติดของนักเรียนหญิงวิทยาลัยการอาชีพวาปีปทุม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สายชล กังศศิเทียม. (2550). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับรายบุคคลตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อความก้าวร้าวของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการแนะแนวและให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุภาวดี เจริญวานิช. (2557). พฤติกรรมการติดเกม: ผลกระทบและการป้องกัน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(6), 871-879.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). ดีป้าเผยผลสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ เด็กไทยเสี่ยงภัยคุกคาม 4 แบบ. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/news/cyberbullying
สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561 Thailand Internet User Profile 2018. สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, องค์การมหาชน, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อนงค์ วิเศษสุวรรณ์. (2554). การปรึกษากลุ่ม (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรุณทิพย์ หงส์พิทักษ์พงศ์. (2557). ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีเผชิญความจริงต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการแนะแนวและให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Glasser, W. (1992). The quality school: Managing students without coercion (2nd ed.). New York: Herper & Row.
IPLAN DIGITAL. (2017). THAI GAMER สถิติตลาดเกมในไทยปี 2017 เป็นอย่างไรบ้าง?. สืบค้นจาก https://www.iplandigital.co.th/thai-gamer
Wubbolding, R. E. (2000). Reality therapy for the 21st century. Philadelphia, PA: Brunner Routledge (Taylor & Francis).