ผลการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

Main Article Content

นิรมล โตใย
ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม
เพ็ญนภา กุลนภาดล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวที่มีต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและสามี ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี ปี 2562 มีคะแนนความเข้มแข็งของครอบครัวต่ำที่สุด  จำนวน  20  ครอบครัว และสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ครอบครัว  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ แบบประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวและโปรแกรมการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น  ครอบครัวกลุ่มทดลองได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัว สัปดาห์ละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวมเป็น 12 ครั้ง ครั้งละ 45-60  นาที  ส่วนครอบครัวกลุ่มควบคุมดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันที่โรงพยาบาลกำหนด  การเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ระยะ  คือ  ระยะก่อนการทดลองและระยะหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม


           ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยต่อความเข้มแข็งของครอบครัว  ระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ครอบครัวที่ได้รับการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งของครอบครัวในระยะหลังการทดลองสูงกว่าครอบครัวกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ นลราชสุวัจน์. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา หน่วยที่ 9-15 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

งานทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. (2557-2560). สถิติโรคมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี Hospital Base cancer registry. ลพบุรี: โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี.

จิระพัฒน์ อุ้มมนุษย์ชาติ. (2552). ผลของการปรึกษาตามทฤษฎีเน้นทางออกระยะสั้นต่อความสุขของผู้ถูกคุมประพฤติกรณีขับขี่รถขณะเมาสุรา .วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ , มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิรัฐติกาล โพธิ์จุมพล.(2555),พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม ณ ศูนย์มะเร็งลพบุรี,ภาคนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.

จีณพัต สำราญราษฎร์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนจากคู่สมรส กับการปรับตัวของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม. วารสารสุขภาพประชาชน, 9(1), 7-19.

ดุษฎี เล็บขาว. (2552). ผลการให้คำปรึกษาครอบครัวแบบกลุ่มตามทฤษฎีระบบต่อความเข้มแข็งของครอบครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทิรา สีเขียว. (2558). ผลการปรึกษาทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวต่อการดำเนินชีวิตของนักเรียนวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผกาพันธ์ สารพัตร. (2547). ผลของการให้คำปรึกแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริงต่อการเผชิญ ความเครียดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการผ่าตัด.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การปรึกษาครอบครัว : Family counseling .ชลบุรี: เนติกุลการพิมพ์.

เพยาว์ รื่นรวย. (2557). ผลของการปรึกษาตามทฤษฎีโครงสร้างครอบครัวต่อการสะท้อนคิดภายในตนของพนักงาน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรารัตน์ ประทานวรปัญญา. (2560). การเสริมสร้างการยอมรับของพ่อแม่ที่มีบุตรข้ามเพศด้วยการบูรณาการ ปรึกษาครอบครัวโดยมีทฤษฎีเป็นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรุณี ชาติประสิทธ์.(2553). การใช้เทคนิคเฉพาะอย่างในการให้คำปรึกษาครอบครัวตามทฤษฎีโครงสร้างของครอบครัวต่อความเข้มแข็งของครอบครัวอย่าร้าง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุวลักษณ์ วงศ์จรรโลงศิล. (2555). โรคมะเร็งเต้านม. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

Annie E.Caset Foundation.(1999).Test your family strength. In Alliance for children and family. Retrieved January 3, 2009, from http: //w.w.w.heartlandfamilyservice.org/tips/strength.asp

Corey, G. (1996). Theory and practice of counseling and psychotherapy (5th ed.). Practice Grove, CA: Books/Cole Publishing.

Corey, G. (2009). Theory and practice of counseling and psychotherapy (8th ed.). Belmont, CA: Thomson Brooks/

Cole.

Goldenberg, H., & Goldenberg, I. (2013). Family therapy: An overview (8th ed.). Singapore: Cengage Learning Asia Pte Ltd.

National Cancer Institute Thailand. (2015), Cancer in Thailand, Vol.VIII 2010-2012. Bangkok: New Thammada Press (Thailand) Co., Ltd.