การวิจัยและพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ 2) พัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ และ 3) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ความต้องการจำเป็นตามองค์ประกอบของวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่เรียงลำดับมากไปหาน้อยดังนี้ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน 2) คุณลักษณะของเพื่อนผู้สอน 3) ลักษณะของเนื้อหาในการจัดการเรียนรู้ 4) รูปแบบของกิจกรรม 5) สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และ 6) ระบบสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ 2. การพัฒนาวิธีการเพื่อนช่วยสอนโดยเพื่อนร่วมชั้นแบบจับคู่ มีดังนี้ 2.1) วิธีคัดกรองเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับใช้แบบทดสอบความรู้วิชาคณิตศาสตร์ นำคะแนนที่ได้มาใช้คัดเลือกนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ขึ้นไปเป็นกลุ่มผู้สอน และกลุ่มที่ได้ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมาเป็นกลุ่มเพื่อนผู้รับ 2.2) นวัตกรรมมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นและเสริมแรงให้นักเรียนเกิดความต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ดำเนินการคัดกรองนักเรียนเป็นเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับ 3) ดำเนินการเตรียมตัวเพื่อนผู้สอนและเพื่อนผู้รับ 4) จัดกิจกรรมเพื่อนช่วยสอน และ 5) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2.3) วิธีการประเมินผลการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยสอน ประกอบด้วยการประเมินผลเพื่อนผู้รับด้วยแบบฝึกหัดและแบบทดสอบย่อยระหว่างการจัดกิจกรรมเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ของการทดลองครั้งนี้นักเรียนที่เป็นเพื่อนผู้สอนมีความมั่นใจในการใช้ความรู้ของตนเอง และนักเรียนที่เป็นเพื่อนผู้รับมีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยร้อยละ 70.51 ซึ่งอยู่ในระดับสูง
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
จารุวรรณ เหล่าดี. (2550). ผลของการเรียนรู้แบบบูรณาการควบคู่กับการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาดี อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เชียรศรี วิวิธสิริ. (2541). จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ธนพล ลิ่มอรุณ. (2554). การฝึกอบรมออนไลน์แบบโครงงานด้วยเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ทีมีบูรณาการไอซีทีในการสอนของครูมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ สาขาโสตทัศนศึกษา, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นิพัทธา ชัยกิจ. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประนอม ดอนแก้ว. (2550). การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวทางกายในการเล่นวอลเลย์บอลของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนเวียงมอกวิทยา. วิทยานิพนธ์นิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปราณี รามสูต. (2528). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: เจริญกิจ.
ปราณี รามสูต . (2542). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.
วนิช บรรจง. (2514). จิตวิทยาศึกษา. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2559). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพักตร์ พิบูลย์. (2550). การวิจัยและพัฒนาสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: โรงพิมพ์จตุพรดีไซน์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุษา คงทอง และคณะ. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเรียนรู้. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์: โรงพิมพ์เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง.
Dale P. Scannell. & D.B. Tracy. (1975). Testing and measurement in the Classroom. Houghton Miffin Company, Boston, USA.
Hawkins, R.O., Musti-Rao, S., Hughes, C., Berry, L. & McGuire, S (2009). Applyying a randomized interdependent group contingency component to classwide peer tutoring for multiplication fact fluency. Journal of Behavioral Education, 18, 300-318.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner. Deakin University, Melbourne, Australia.
Kiburis, M.S. (2012). Evaluating the efficacy of an adaptation of pals for math in a seventh grade classroom. Doctoral Dissertation of Psychology, University of Southern Maine, Portland.
Mengping T. (2011). Development of a peer- assisted learning strategy in computer supported collaborative learning environments for elementary school student. British Journal of Educational Technology. 42(2), 214-232.
Nawaz A. and Rehman Z. (2017). Strategy of peer tutoring and students success in mathematics: An analysis. Journal of Research and Reflections in Education. 11(1), 15-30.
Robinson D., Schofield J. & Steers-Wentzell K. (2005). Peer and cross-Age tutoring in math outcomes and their design implications. Educational Psychology Review 17(4), 327-362.
Walker E., Rummel N. & Koedinger K.R. (2014). Adaptive Intelligent Support to Improve Peer Tutoring in Algebra. International Journal of Artificial Intelligence in Education. 24(1), 33-61.