การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

โชติชนะ โพธินิล
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลและคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 จำนวน 25 เล่ม ได้ค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 88 ค่า   การวิเคราะห์อภิมานใช้วิธีของ GLASSเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ดัชนีมาตรฐานของปัจจัย ที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.767และส่วนเบี่ยงมาตรฐานเท่ากับ1.247 ความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 2) ผลวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรดัมมี่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ดัมมี่เครื่องมือวัดตัวแปรตามที่ใช้แบบทดสอบและแบบวัด ดัมมี่เครื่องมือวัดตัวแปรต้นด้วยแบบประเมิน ดัมมี่การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดัมมี่การจัดการเรียนรู้ ดัมมี่ความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของกิลฟอร์ดและคะแนนการประเมินงานวิจัย สามารถอธิบายความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนตัวแปรตามได้ร้อยละ 75(R=.867, R2=.751, f=18.423, p=.000) การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับ ผลการทดสอบอิทธิพลคงที่ (fixed effect) พบว่า การวิเคราะห์ภายในเล่มค่าคงที่ของค่าเฉลี่ยของดัชนีมาตรฐานความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานวิจัยไม่พบนัยสำคัญ (t=-1.648, p=.125) ตัวแปรระดับเล่มงานวิจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมาตรฐานความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ คะแนนประเมินคุณภาพงานวิจัย (RSCOR)จำนวนหน้าทั้งหมด (ALLPAG) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง (SIZE) และตัวแปรดัมมี่งานวิจัยที่ตั้งสมมติฐานแบบมีทิศทาง (DDIHYPO)

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ธีร์กัญญา โอชรส. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤมล อุดมคุณ. (2552). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาวิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาลิณี รักดี. (2560). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

รัศนา จั่นสกุล. (2547). การสังเคราะห์งานวิจัยที่วิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น: การวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาสถิติการศึกษา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร คล้ายทิม. (2548). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยปัจจัยเชิงผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริพรรณ ทัศนพาณิชย์. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดของคาร์ล ออร์ฟร่วมกับทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย: การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cooper, H. and Hedges, L.V. (Eds.). (2009). The Handbook of Research Synthesis (2nd ed). New York: Russell Sage Foundation.

Glass, G. V. (1976). Primary, secondary, and meta-analysis of research. Educational Researcher, 5(10), 3-8.

Glass, G.V., McGaw, B. and Smith, M.L. (1981). Meta-Analysis in social science Research. Beverly Hill: Sage Publications.