การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์เอ็มเอเอสอีเอ็ม

Main Article Content

ชลกร ชุ่มกลาง
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
อานนท์ ไชยสุริยา
สุรีพร อนุศาสนนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการวิจัยและอิทธิพลส่งผ่านโมเดลสมการโครงสร้างปัจจัย
ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความแตกต่างของดัชนีมาตรฐานตามคุณลักษณะงานวิจัยและตรวจสอบความตรงของโมเดล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2550 - 2558 จากมหาวิทยาลัย 31 แห่ง จำนวน 99 เล่ม เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ 23 เล่ม และงานวิจัยเชิงทดลอง 76 เล่ม ได้ค่าดัชนีมาตรฐานรวมทั้งหมด 365 ค่า ใช้การวิเคราะห์อภิมาน และตรวจสอบความตรงของโมเดลด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยเป็นดังต่อไปนี้ 1) ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า 1.1) ค่าดัชนีมาตรฐานเฉลี่ยของงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ .401 และงานวิจัยเชิงทดลองมีค่าเท่ากับ .978 1.2) ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ทำให้ดัชนีมาตรฐานแตกต่างกันในงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์มีจำนวน 9 ตัวแปร และงานวิจัยเชิงทดลองจำนวน 8 ตัว และ 1.3) ผลการวิเคราะห์พหุระดับพบว่า ความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานเกิดจากภายในเล่มมากกว่าระหว่างเล่ม โดยภายในเล่มเท่ากับ .054 และความแปรปรวนระหว่างเล่ม เท่ากับ .026 และอธิบายความแปรปรวนค่าดัชนีมาตรฐานได้ร้อยละ 28.75 2) โมเดลสมการโครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\chi&space;^{2} = 17.65, df = 13, p = .17139, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMSEA = .012, SRMR = .058) โดยมีขนาดอิทธิพลรวมตามลำดับคือ กลยุทธ์การสอนและพฤติกรรมครู (.99) คุณลักษณะของนักเรียน (-.84) การสนับสนุนทางการเรียน (.56) และกลยุทธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิภาพของนักเรียน (.32) ตัวแปรทั้งโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 48

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กัญญา หมื่นชนะ. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

จริยา ชื่นสมบูรณ์. (2553). การสังเคราะห์ที่ศึกษาปัจจัยด้านเด็กและครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กด้วยเอ็มอีเอสอีเอ็ม. วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตติพร เชื้อบัณฑิต. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต การวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดารณี ม่วงโต. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (Meta- analysis). กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ป.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542) รายงานการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้านการวิเคราะห์อภิมาน และการวิเคราะห์เนื้อหา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

มรกต ศรียาสวิน. (2545). ตัวแปรที่เกี่ยวกับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาดนตรี นาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนโยเซพคอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก

วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยโดยการวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วัชราภรณ์ อมรศักดิ์. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิชัย แหวนเพชร. (2554). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร:กรุงเทพฯ.

วรรณี สุจจิต์จูล. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยรูปแบบการเรียนการสอน หลังยุคปฏิรูปการศึกษา พุทธศักราช 2542 โดยการวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2557). นโยบายบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2558 กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2531). แนวทางการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียนเอกชน.
กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.

สิริพร ปาณาวงษ์. (2545). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2550). สติปัญญาและความถนัดทางการเรียนของมนุษย์ : ทฤษฎีวิธีวัดและการพัฒนา.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยวงษ์วลิตกุล.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2530). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อุทุมพร พันธ์ชมพู. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา: โดยการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Bracken, B. A. (1996). Handbook of self-concept: Development, social and clinical considerations, New York, John Wiley & Sons.

Brawn, N.E. (1983). He use of selected Characteristic of ability and achievement as predictors of student achievement in a multi-track science curriculum. Dissertation Abstracts International: 38(11), 5239-A.

Cheung, M.W.L. & Chan, W. (2005). Meta-analytic structural equation modeling: a two-stage approach. Psychological Methods, 10(1), 40.

Cheung, M.W.L. (2009a). Meta – analysis: A Structural Equation Modeling Perspective.
Paper presented at the Association for Psychological Science 21st Annual Convention, San Francisco, CA, USA.

Cheung, M.W.L. (2010). Fixed-effects meta-analyses as multiple-group structural equation models. Structural Equation Modeling, 17, 481 -509.

Coleman, J. A. (2007). Motivation of UK school pupils towards foreign languages: a large-scale survey at Key Stage 3. Language Learning Journal 35(2).

Cronbach, L. J. (1963). Educational Psychology. New York: Harcourt Brace And World. Dickson and others. 1995, 46-55.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior Belmont. California: Thomson Wadsworth.

Duchastel, P. (1998). Prolegomena to a theory of instructional design. Online ITFORUM presentation and archived discussion. From https://itech1.coe.uga.edu/itforum/paper27/paper27.html.

Feldman J. and McPhee, D. (2008). The science of learning and the art of teaching. New York: Thomson Delman Learning.

Fleming, M. L. (1990). “The Relationships of Student Characteristics and Student Performance in Science as Viewed by Meta Analysis Research”. Journal of Research in Science Teaching. May20: 481-495.

Freeman, M.A. & Karr-Kidwell. (1998). Parent opinion and teacher–student perception regarding parent’ involvement in their children’s education and development. Eric database search, Available https://www.Ericfacility.net.

Gardner, R. C. & Lambert, W. E. (1972). Attitudes and motivation in second language learning. Rowley, MA: Newbury House Hayes.

Hedges, L., & Olkin, I. (1985). Statistical models for meta-analysis. New York: Academic Press.

Hunter, J. E., Schmidt, F. L., & Jackson, G. B. (1982). Meta-analysis: Cumulating research
findings across studies, 4.

Jersild. (1963). The psychology of adolescence. New York: Macmillan

Liu, D. (2004). EFL proficiency, gender and language learning strategy use among a group of Chinese Technological Institute English Majors. ARECLS E-Journal1: A5.

Millman, J. (1981). Handbook of Teaching Evaluation. London: Sage.

Gilman, M. & Tillitski (1989). Meta–Analysis in Social Reseach. California Fage: New York

Mullen, B. (1989). Advance BASIC meta-analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Nunan, D. (1997). Strategy training in the language classroom: An empirical investigation. RELC Journal 28(2): 56-81.

Oxford, R.L. (1990). Language learning strategies: what every teacher should know. Rowley, MA, Newbury House.

Rosenthal, R. (1991). Essentials of behavioral research: Methods and data analysis. Mc Graw - Hill Humanities Social.

Rosenblatt, L. M. (1995). Literature as exploration. New York: The Modern Language Association.

Slavin, R. E. (1986). Best-evidence synthesis: An alternative to meta-analytic and traditional reviews. Educational researcher, 15(9), 5 - 11.

Nakanish. (2014). A Meta–Analysis of Extensive of reading Research. Doctor of Education.

Walters (1978). The working class in welfare capitalism. London: Routledge & Keganpaul.