การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4

Main Article Content

ชนิดา คงสำราญ
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
ธนวิน ทองแพง

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา และตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสอบถามจากข้าราชการครู จำนวน 346 คน  2) การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุงด้วยการสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน และ 3) การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่ามัธยฐาน (Mdn.) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.)


 ผลการวิจัยพบว่า


1.  ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จากการสอบถามข้าราชการครู พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.89, SD = .87)


2. รูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ที่พัฒนาขึ้นนั้น โดยใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง พบว่า ทั้งรอบที่ 1 และรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยทุกคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่ามัธยฐาน (Mdn.) รวมทุกคุณลักษณะเท่ากับ 4.98 และ 5.00 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (I.R.) รวมทุกคุณลักษณะเท่ากับ .36 และ .00 ตามลำดับ


3. การตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จากการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่า รูปแบบภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริงทั้ง 10 คุณลักษณะ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

เขมจิรา กุลขํา. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการสำหรับผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2), 237-263.

ณัฐฏ์นันท์ ฐานเจริญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิวากานต์ ศรีสวัสดิ์. (2558). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 57-64.

นิตย์ โรจน์รัตนวานิชย์. (2556). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำตามแนวภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 190-200.

ประศาสน์ ปรีชม. (2548). การสร้างเสริมพลังอำนาจให้ครูโดยผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลภรณ์ ไชยะเดชะ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศิริวรรณ จันทรัศมี. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานประจำปี 2557 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับพันธกิจพัฒนาการศึกษาชาติ. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

อมรวดี สินเจริญ. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Abel, A. T. (2000). The characteristics, behaviors, and effective work environments of servant leaders: A Delphi study. Ph.D. dissertation, Educational Leadership and Policy Studies, Virginia University.

Blanchard, K. H. (2006). Leading at a higher level: Blanchard on leadership and creating high performing organizations. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Boone, M. (1992). The impact of leadership behavior of the superintendent on restructuring rural schools. Texas. ERIC Database, ERIC No: ED 354115.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper & Row.

Eisner, E. W. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and function in educational evaluation. The Journal of Aesthetic Education, 10(3), 96-135.

Guskey, T. R. (2000). Evaluation professional development. California: A Timely Idea.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale, reading in attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son.

Livovich, M.P.,Jr. (1999). An investigation of servant-leadership in public school superintendents in the state of Indiana. [Unpublished PhD Thesis]. Indiana State University.

McCall, M. W. Jr. & Lombardo, M. M. (1983). Off the track: Why and how successful executives get derailed. Greenboro, NC: Centre for Creative Leadership.

McCauley, C. D., Moxley, R. S. & Velsor, E. V. (1998). The center for creative leadership: Handbook for leadership development. San Francisco: Jossey Bass.

Sallis, E. (2002). Total quality management in education (3rded.). London: Kogan Page.

Spears, L. C. (1998). Insights on leadership: Service, stewardship, spirit, and servant-leadership. New York: John Wiley & Sons.

Spears, L. C., & Lawrence, M. (Eds.). (2002). Focus on leadership: Servant leadership for the 21st century. New York: John Wiley & Sons.

Thompson, C. H. (2005). The public school superintendent and servant leadership dissertation. Ed.D. (Doctor of Education). Wisconsin: Graduate School Wisconsin University.