ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ในมหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

ธิดารัตน์ สวนเศรษฐ์
ระพิน ชูชื่น
ธนวิน ทองแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา และ 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ ความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา  จำนวน 306 คน จากการใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้วิธี Stepwise multiple regression analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย คุณภาพชีวิตในการทำงานและประสบการณ์ทำงาน โดยในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและประสบการณ์ทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง สมการพยากรณ์ความผูกพันองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยบูรพา จากปัจจัยด้านประสบการณ์ทำงาน ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตในการทำงาน ในรูปแบบคะแนนมาตรฐานมีดังนี้


Z = 3.22 + .09 (X4) + -.11 (X6)  + .01 (X2)  + -.15(X 12)  + -.17 (X3) + .05 (X5) + .11(X1)  + .38 (X8) + .04 (X 9) + .01 (X 10) + -.03(X 11)  + .27(X7

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กติกา ชาติน้ำเพชร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน,

วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกวลี ดวงกำเหนิด. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน วัฒนธรรมองค์การ กับผลการปฏิบัติงานของอาจารยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ แก้วสมนึก .(2550).การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ,คณะการ จัดการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพวรรณ ยุติธรรม (2550). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

ธนาเศรษฐ์ วัฒนพงศ์สถิต. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารทั่วไป,วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญจรัตน์ เดชนุวัฒนชัย. (2541). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความผูกพันต่อองค์กรและการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต,สาขาวิจัยกองการศึกษา, วิจัยการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรชัย แก้วพิกุล. (2552). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยบูรพา (2560) . รายงานประจำปี 2560 . 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560. กองแผนงาน. มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัยบูรพา (2561) . รายงานประจำปี 2560 . 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561. กองแผนงาน. มหาวิทยาลัยบูรพา

วรนาฏ เวนุอาธร. (2555). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและจากหัวหน้างาน ความผูกพันในงานและความตั้งใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการองค์การภายใต้การดูแลของรัฐแห่งหนึ่ง. งานวิจัย ส่วนบุคคล. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุสาหกรรมและองค์การภาควิชาจิตวิทยา, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรวรรณ ผดุงรัชดากิจ (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาข้าราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, คณะการจัดการและการท่องเที่ยว, มหาวิทยาลัยบูรพา.

Best & Kahn James V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston : Allyn and Bacon.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mobley, H. H. (1982). Employee Turnover Case Consequences and Control. Texas: AddisonWesley.

Price, J.L. and Mueller, C.W. (1986). Absenteeism and Turnover among Hospital Employees. JAI Press, Greenwich.

Steer, R. M. (1977). Autecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Seience Quarterly. (n.p.).