ผลของบทเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือ วิชาทัศนศิลป์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างบทเรียนแบบผสมผสาน ให้มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน 4) เพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุรีพร จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนการเรียนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการศึกษา Randomized One Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการศึกษา พบว่า1) บทเรียนแบบผสมผสาน มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.64/85.85 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนต่อบทเรียนแบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนต่อบทเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับ “มากที่สุด”
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กานต์ชนก สิงห์ชู. (2552). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จินตนา จ่าเห็ม (2557). ผลของการใช้บทเรียนบนเว็บที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชนินทร์ เปี่ยมงาม (2552). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายโดยรูปแบบการเรียนร่วมมือแบบ STAD เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื่องต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธนัชพร ยอดเพ็ชร (2552). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณัชชนิฐา พุ่มชุม (2551). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาเสริมทักษะคอมพิวเตอร์ เรื่อง โปรแกรม Microsoft Publisher โดยใช้รูปแบบการเรียนมีส่วนร่วมแบบ STAD สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. . วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
นันท์นภัส บุญเพ็ง (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ ในรายวิชาการใช้โปรแกรมตารางงาน .วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เรวดี รัตนวิจิตร (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์รายวิชาคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วลัยพร ควงคี (2551). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยใช้เทคนิค STAD วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุทธิพันธ์ ลิมานนท์ (2552). การประยุกต์ใช้ระบบ การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ด้วย Moodle วิชาคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรินทร์ สุรรัตนากร (2551). การพัฒนาหาประสิทธิภาพและการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อารี พันธ์มณี. (2537). คิดอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999.
Bodden-White, Michelle Marie. (2015). The Impact of Leadership Support for Blended Learning on Teachers and Students. Retrieved from https://eric.ed.gov
Brown, James Mckinnley. (2003). When we make art: A phenomenological study of highly creative children and their art making experiences. Retrieved from https://search.proquest.com/docview
Chuang, Chung-Pei. (2003). Effect of Varied Types of Collaborative Learning Strategies on Young Children: An Experimental Study. Retrieved from https://www.semanticscholar.org/paper/Effect-of-Varied-Types-of-Collaborative-Learning-on-Chen-Chuang
D.Randy Garrison and Norman D.Vaughan. (2008). Blended Learning in Higher Education. San Francisco : Jossey-Bass.
Robinson, K., (2011). Out of our minds : learning to be creative. (Revised and updated ed). Hoboken N.J. : Capstone.
Maneen, Cari A. (2016). A Case Study of Arts Integration Practices in Developing the 21st Century Skills of Critical Thinking Creativity Communication and Collaboration. Retrieved from https://search.proquest.com/docview
Wiersma, W. (1991). Research method in education. USA.
Wayer, Nicola M. (2013). From design to enactment: A case study of blended learning across the conten tareasina K12 school.Retrieved from https://search.proquest.com/docview