ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

วิจิตรา วงศ์ประทุม
ทวี สระน้ำคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างวิธีการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานกับผู้เรียนที่เรียนในรูปแบบการเรียนปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนทีเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานกับผู้เรียนที่เรียนในรูปแบบการเรียนปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสีชมพูศึกษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน รูปแบบการวิจัย  Randomized Pretest - Posttest Control Group Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.63/80.31  2) การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานสูงกว่าผู้เรียนในรูปแบบการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานสูงกว่าผู้เรียนในรูปแบบการเรียนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบผสมผสาน อยู่ในระดับ “มาก”

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒. http://www.moe.go.th/moe/nipa/ed_law/p.r.g.edu1.pdf

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). เอกสารความรู้ สดร. ฉบับที่ 21/2549 : การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันดำรงธรรมราชานุภาพ.

ชีวิน ตินนังวัฒนะ. (2555). ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เรื่อง อาหารและสารอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

นวลพรรณ ไชยมา. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงสำหรับนักศึกษาสถาบันพลศึกษาวิทยาเขตเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2544). e-Learning: การเรียนรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1(มกราคม-เมษายน 2544) : 7-15.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2554 ,จาก http://www.e-trainingvec.com

ภัณนภัทร บางปะอินทร์ . (2557) . ผลของบทเรียนบนเครือข่ายที่ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีการบูรณาการสาระการเรียนรู้เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 . การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.

วีรประวัติ ทองขอน. (2557). ผลของบทเรียนบนเครือข่ายที่อาศัยพื้นฐานการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ เรื่อง ประชาคมอาเซียน ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 ปีพ.ศ.2551-2565. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์นาฎ ครุนันท์. (2550). ผลของการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีเทคนิคช่วยจำกับไม่มีเทคนิคช่วยจำ เรื่องสำนวนไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อาณัติ รัตนถิรกุล. (2558). ติดตั้งและบริหารระบบ e-Learning ด้วย Moodle ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

A. Jones, B. Cowie, J. Moreland. (2010). Assessment in schools – Technology education and ICT. In International Encyclopedia of Education (pp. 311-315). Elsevier.

Badrul H. Khan. (1997). Web-Besed Instruction. New Jersey . Educational Technology Publication, Inc.,.

D.Randy Garrison and Norman D.Vaughan . (2008). Blended Learning in Higher Education . San Francisco : Jossey-Bass.

Slavin,R.E. (1995). Cooperative Learning: Theory. Boston: Alltn & Bacon.