ผลการเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างบทเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานฯ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสีชมพูศึกษา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนแบบผสมผสานตามรูปแบบสะเต็มศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แบบวัดการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนชนิดปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยกึ่งทดลอง ในรูปแบบหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (T-Test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานฯ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.93/82.66 2) การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานแบบผสมผสานฯ อยู่ในระดับ “มาก”
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กุลธวัช สมารักษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานผ่าน เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยใช้กรณีศึกษาด้วย วิดีโอแชร์ริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้า พระนครเหนือ. 6(1), 205-214.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-19.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). เทคโนโลยีการศึกษา: ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาวิชาการเลือกและการใช้สื่อการเรียน การสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ถนอมพร (ต้นพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. นวัตกรรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสาม ดีไซน์; 2561.
นงนุช เอกตระกูล. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2560. จาก http://swis.act.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/2204.pdf
นวลพรรณ ไชยมา. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้กลยุทธ์การส่งเสริมทักษะ การรู้สารสนเทศที่ส่งผล ต่อการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเพชรบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560. จาก http://113.53.231.35/ipepb/winjai/วิจัย%2056/ดร.นวลพรรณ%20ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้กลยุทธ์การส่งเสริมทักษะ การรู้สารสนเทศ1%20.pdf
ประสิทธิชัย มั่งมี. (2557). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ MIAP เรื่องการสร้างบทเรียนออนไลน์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 5(2), 58-66.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหาร. 33(2), 49-56.
พรพิมล ดอนหงษ์ไผ่, (2555). การใช้สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารรอบตัว ที่มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เพ็ญศรี ปัญญาแก้ว. (2560). ผลของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ การสืบสวนสอบสวน เป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 11(2), 188-195.
โรงเรียนสีชมพูศึกษา, ฝ่ายวิชาการ. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560. จาก http://203.113.99.29/weschool/school3040100113/
วิจารณ์ พานิช, (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.
วิไรรัตน์ วรรณทอง. (2555). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาเรื่องอัตราการ เกิดสารเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศดิศ สัตยพันธ์. (2556). ผลการเรียนแบบผสมผสานทีมีต่อความสามารถในการประกอบคอมพิวเตอร์ของ นักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เรื่องการติดตั้งประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศุภลักษณ์ ปริสุทธิโกศล. (2558). ผลการเรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิจารณญาณ และความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีการนำตนเองในการเรียนรู้ต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 9(2), 191-200.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับ ORGANISATION for ECONOMIC CO-OPERATION and DEVELOPMENT (OECD). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2560. จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/pisa/ reports/pisa2015summaryreport.
สุรพล ศรีศิลป์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายไวแมกซ์ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560- 2564). กรุงเทพฯ: เท่านั้น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560. จาก http://backoffice.onec.go.th/uploaded/Outstand/2017-EdPlan60-79.pdf
เสาวลักษณ์ ชนะพาล. (2558). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ความคงทนในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงและความดัน โดยใช้โปรแกรมบทเรียนแบบผสมผสาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5(2), 70-79.
เหมือนฝัน ศรีศักดา. (2551). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่มีรูปแบบ การเรียนต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉรา อุรัชโนประกร. (2552). การสร้างบทเรียนบนออนไลน์แบบกิจกรรมกลุ่มโดยวิธีการเรียนแบบผสมผสาน เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อัญชนา กลิ่นเทียนและวรรณชัย วรรณสวัสดิ์. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เสมือนจริงด้วยการเรียนแบบผสมผสานเพื่อ พัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(ฉบับพิเศษ), 148-162.
Bloom Benjamin S. Taxonomy of Educational Objectives Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay; 1956.
Gagne, R. M. (1970). The conditions of learning. New York: Holy Rinehart and Winston.
Graham, C. R. (2013). Emerging practice and research in blended learning. In M. G. Moore (Ed.), Handbook of Distance Education. Retrieved February 18, 2017, from https://www.academia.edu/2068375/Emerging_practice_and_research_in_blended_learning.
Piaget, J. (1962). Play, dreams, and imitation in childhood. New York: Norton.
Weir, J. J. (1974). Problem Solving is Everybody’s Problem. Science Teacher. (4), 16-18.