ศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเขตลาดกระบัง 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่าง ด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณีมอญโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง จำนวน 3 ท่าน 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน และ 3) กลุ่มผู้บริโภค จำนวน 222 คน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูป Yamane ตามค่าความคลาดเคลื่อน 5% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ลวดลายเบื้องต้น 2) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีผลต่อลวดลายที่พัฒนาขึ้น 3) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลต่อรูปแบบและความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเขตลาดกระบัง คือ ผ้าสไบมอญ ธงตะขาบ ดอกกระเจี๊ยบแดง ฝักกระเจี๊ยบเขียว และนก 2) ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง ผ่านคัดเลือก 3 ลวดลาย ได้แก่ รูปแบบที่ 1, 3 และ 6 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ลงในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์มอญเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเขตลาดกระบัง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
นวมณฑ์ อุดมรัตน์. (2553). หยั่งรากรามัญบนผืนแผ่นดินไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัณณ์ณัช ชนัทพรรษ. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบสินค้าชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3), 5-8.
ปัทมา สรสุข และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีชุมชนชาวมอญเขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์วิทยาการจัดการบัณฑิตศึกษา, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ไพโรจน์ ธีระประภา. (2561). การออกแบบกราฟิกเพื่อชุมชน/ความพอดีและเหมาะสมตามสิ่งจำเป็นของวันนี้. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/814007
องค์ บรรจุน. (2557). สไบมอญ (หญาดฮะเหริ่มโตะ). สืบค้นจาก https://www.openbase.in.th/ node/10070
สมบัติ ประจญศานต์. (2558). ลวดลายเรขศิลป์ส่วนประดับของปราสาทขอมบนผ้าไหมมัดหมี่ต่อการออกแบบเครื่องแต่งกาย. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 3(3), 1-8.
สำนักงานวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว, กองการท่องเที่ยว. (2561). คู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตลาดกระบัง. กรุงเทพฯ: ฝ่ายบริหารจัดการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). สถิตินักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html
สุมิตรา ศรีวิบูลย์ และ จิระ จริงจิตร. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : Core Function.
Donald A. Norman. (2004). Emotional Design Why We Love (or Hate) Everyday Things. New York: Published by Basic Books. Retrieved from https://motamem.org/upload/ Emotional-Design-Why-We-Love-or-Hate-Everyday-Things-Donald-Norman.pdf
Joong Yeal Park. (2013). Journey of Jerrycan, Sustainable Local Product Design Development for SMES Designers: A Case study from Kampala, Uganda. Finland: Creative Sustainability, Master degree Department of Design. Architecture Aalto University.
E. Jerome McCarthy. (2015). Basic marketing: A marketing strategy planning approach. McGraw-Hill Irwin. [Website]. Retrieved from https://dekmarketing.blogspot.com/2016/07/e-jerome-Mccarthy-4ps.html