การพัฒนาพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเข้าชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงฯของผู้เข้าชม 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงฯ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกแบบอาสาสมัคร จำนวน 72 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงฯ 3) แบบประเมินคุณภาพพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงฯ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล มีประสิทธิภาพ 82.10/83.60 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
2. ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จังหวัดสตูล อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.60, S.D. = 0.28)
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-19.
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทวีทรัพย์ จิตติวัฒนานุกุล. (2546). อินเตอร์เน็ตหัดใช้ให้เป็น. กรุงเทพฯ : สวัสดีไอที.
นภดล ฤกษ์สิริศุภกร. (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบภาพพาโนรามาเสมือนจริง 360 องศา เรื่อง ป่าชายเลน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, นครปฐม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นภาภรณ์ ยอดสิน. (2547). ผลของการใช้ภาพพาโนรามาเสมือนในการศึกษานอกสถานที่บนเว็บที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต จรูญฤทธิ์. (2550). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟเดอร์มิสท์.
พิเชษ ทองนาวา. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียแบบภาพพาโนรามาเสมือนจริง เรื่องพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, นครปฐม, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรพล บุญลือ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงแบบใช้ปัญหาเป็นหลักในระดับอุดมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.กรุงเทพฯ.
สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ. (2548). การบริหารพิพิธภัณฑ์เชิงธุรกิจ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
Dusan Pavlicek. (2004). Panoramic Model of the Depastment of Computer Science,FEECTU. Retrieved September 15, 2017, from http//www.cgg.cvct.cz/publication/diplom/PavlicekDusan/abstract_htm
Hardin. (2001). Library for the Health Sciences The University of Iowa City. Retrieved September 15, 2017, from https://www.pubmedentral.nih,gov/articlerender.fcgi
McKenzie, J. (1997). Museums of the Future Reach Out and Touch Something: Virtual Reality Transforms Virtual Museums Online Exhibits and Exploratoriums. Retrieved February 11, 2018, from https://www.fno.org/aug11/virtual.html