คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

Main Article Content

ชิดกมล ยะสุรินทร์
กัญภร เอี่ยมพญา
นิวัตต์ น้อยมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาระดับคุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 4) ศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


1) คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2) การมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  


3) คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 กับการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4) คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2 มีอำนาจพยากรณ์ได้ร้อยละ 42.50

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

คณิตตรา เจริญพร. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2550). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2558). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1 – 9.

ณัฐพล ปัญญาโสภณ. (2556). การสร้างความเป็นผู้นำในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ทศพร จรุงพันธ์. (2553). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ผ่านการประเมินมาตรฐานการศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ทองทิพภา วิริยพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: อินฟอร์มีเดีย บุ๊คส์.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2554). ผู้บริหารในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พจนาถ วาดกลิ่น. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานด้านวิชาการโรงเรียนในสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ สังกัดสำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

พรสวรรค์ โฆษิตจินดา. (2554). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพกับการจัดการเรียนการสอนคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพียงใจ เรืองฤทธิ์. (2550). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

โศภิดา คล้ายหนองสังข์. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมยศ นาวีการ. (2550). ภาวะผู้บริหารต้นแบบ. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.

สมศักดิ์ เจริญพานิชเสรี. (2550). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สุมาณี ไพศาลเวชกรรม. (2555). การปฏิรูปนโยบายการเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. (2559). รายงานประจำปี2559. ฉะเชิงเทรา: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). การปฏิบัติการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการพัฒนาบุคลากรทั้งโรงเรียนโครงการปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อนุชิต วรรณสุทธิ. (2551). การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในอนาคต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. (2556). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. รายงานการค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Fornaroff. (1980). A Community involvement in Health System for Primary Health care. Geneva: World Health Organization.

Ghiselli Edwin E. (1998). Personnel and Industrial Psychology. New York: McGraw – Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hill.

Stadt, R. W. (1970). Managing Career Education Programs. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice – Hall.

Swansburg, R.C. (1996). Management and leadership for nurse managers. London: Jones and Barrett.

White, T.R. (1982). An investigation of Gender and Grade-level Differences in mutation. Dissertation Abstracts International.