ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยจำนวน 6 ด้าน 2) ระดับความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจำนวน 6 ด้านกับความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา จำนวน 300 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับปัจจัยจำนวน 6 ด้าน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการสื่อสารที่มีคุณภาพ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านการติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง ด้านการประเมินการบริหารความเสี่ยง ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
- ความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน และ ด้านกลยุทธ์
- ปัจจัยทั้ง 6 ด้านกับความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก (rxy = .770) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา คือ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 62.40 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบมาตรฐานคือ = .346X5 + .364X6+.147X1
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เนติกุลการพิมพ์จำกัด (152).
ดวงใจ ช่วยตระกูล. (2551). การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เต็มดวง จำนงค์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อวามสำเร็จในการบริหารโรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. ลพบุรี.
นฤมล สะอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.
นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะรัตน์ เสนีย์ชัย. (2554). การบริหารความเสียงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เมธา สุวรรณสาร. (2552) แนวทาง/กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2561. จาก https://itgthailand.wordpress.com/category
วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพมหานคร.
สุมนมานต์ อมรมุนีพงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาด้านบริหารงานวิชาการโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. (2560). รายงานการควบคุมภายใน. กลุ่มอำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สมชิต บรรทิต. (2556). ศึกษาระดับการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดกระบี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York: McGraw-Hill.
Likert, R.A. (1961, May). “Technique for the Measurement of Attitudes,” Arch Psychological. 25(140), 1 – 55.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970, Autumn). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.