การศึกษาปัจจัยจำแนกความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

คณารักษ์ ศรีสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถจำแนกความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเพื่อสร้างสมการจำแนกความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 380 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา(Quota Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant Analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise Method) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถจำแนกความสามารถทางวิทยาศาสตร์กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ได้แก่ ผลการเรียน( )และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน( )สามารถนำมาเขียนเป็นสมการจำแนกประเภทได้ ดังนี้


สมการในรูปคะแนนดิบ gif.latex?Y^'=-4.636+0.612(x_1&space;)+0.570(x_2&space;)


สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน  gif.latex?Z_Y^'=0.797(x_1&space;)+0.353(x_2&space;)


โดยสมการสามารถพยากรณ์จำแนกความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 79.50 และ 68.30 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมพบว่าสมการสามารถจำแนกประเภทได้ร้อยละ 74.21

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบแนวคิดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด

ชุติมา ยาวีระ, สุนีย์ เหมะประสิทธิ์ และอรอุมา เจริญสุข. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนของมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2562 จาก https://jes.rtu.ac.th/rtunc2016/pdf/Poster%20 Presentation/Poster%20%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%204%20%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/ED_31.pdf

ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2579). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 412-420.

ศิริดา บุรชาติ. (2562, 25 มีนาคม). การศึกษา. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562 จาก https://www.prachachat.net/education/news-307239

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2558). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562 จาก https://timssthailand.ipst.ac.th/timss/reports

สุขฤกษ์ ดีโนนโพธิ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 30. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill Book.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A. and Lowell, E. L. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton-Century-Crofts.

Walberg, Hebbert J. (1989). The Effective Teacher. New York : McGraw-Hill Book.