การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย: กรณีศึกษานักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระเทพสุรีย์ จันขาว
ปิยะพงษ์ จันทร์ใหม่มูล

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอย” สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย และเพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดแจงร้อน เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งแบบทดสอบทั้งหมดมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .80-.87 แบบทดสอบความรู้มีค่ายากง่ายตั้งแต่ .30–.70 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .28–.71 ในกระบวนการศึกษาได้ทำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย และประยุกต์ใช้เกม พร้อมสื่อมัลติมีเดียสร้างกระบวนการเรียนรู้ เป็นเวลา 10 ชั่วโมง ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้วัดความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เช่น Independent-Samples t-test, Paired-Samples t-test และ One-way Analysis of Variance  ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นักเรียนมีความรู้ด้านการจัดการขยะมูลฝอย จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า เพศหญิงมีความรู้สูงกว่าเพศชาย หลังการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนที่มีชั้นการศึกษาต่างกัน หลังเข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้และจิตสำนึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย (2559). ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย, กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เกวลิน มะลิ และกนกพร เพียรประเสริฐ. (2557). ความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อมของนิสิตปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 7(2), 75- 80.

คงพร นิ่มเจริญชัยกุล, ธงชัย นิลคำ และไพฑูรย์ สุขศรีงาม. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทิ้งขยะมูลฝอยลงคลองสำหรับผู้อาศัยอยู่ตามชุมชนริมคลองสำโรง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 196-199.

จุฑารัตน์ นิ่มกลัด, พรทิพย์ พิทักษ์ธานินทร์ และพัลลภา ตุ้ยเต็มวงศ์. (2551). ผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มที่มีต่อจิตสำนึกการประหยัดพลังงานของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธิดารัตน์ อ่อนปลา. (2553). ผลของบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ต่อความรู้ - ความเข้าใจ และจิตสำนึกของนักเรียนโรงเรียนสีหราชเดโชชัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน, องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ ยิ่งยวด. (2560). การพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะสำหรับนิสิตสาขาวิชาเกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(1), 770-785.

น้ำฝน คูเจริญไพศาล, เพียงขวัญ แก้วเรือง และอรพรรณ วันเพ็ญ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องขยะพลาสติกโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 116-132.

บัณฑิต จุลาสัย. (2528). เยาวชนผู้กำหนดสภาวะแวดล้อมในทศวรรษหน้า. สถาบันวิจัยจุลสารสภาวะแวดล้อ, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรพล ไตรทิพย์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะเพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเทศบาลบ้านค้อ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พันธุ์พงษ์ คงเดชอดิศักดิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างจังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

มารียัม เจ๊ะเต๊ะ และวิสาขา ภูจินดา. (2556). แนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา, 3(5), 39-50.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2549). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วิลินธร ชูโต. (2558). การรับรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(3), 52-59.

สุภัทรชา เอี่ยมประเสริฐ. (2554). การรับรู้และการมีส่วนร่วมในการลดภาวะโลกร้อนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Asmatulu, R. & Asmatulu, E. (2011). Importance of recycling education: a curriculum development at WSU. Journal of Material Cycles and Waste Management. 13(2), 131-138.

Cheng, C.H. & Su, C.H. (2012). A game-based learning system for improving student's learning effectiveness in system analysis course. Procedia - Social and Behavioral Sciences Journal. 31, 669-675.

Linh, P. (2014). Design a solid waste management course for primary school focus on reduce-reuse-recycle project: WastED-export of education, waste management target market: Vietnam. Bachelor’s Thesis Degree Program in International Business, HAAGA-HELIA University of Applied Sciences.

McLeod, J.D. (2014). Social stratification and inequality. In Handbook of the sociology of mental Health, Springer Netherlands.

Mayer, R.E. (2005). The Cambridge handbook of multimedia learning. New York, NY, US: Cambridge University Press.

Ross, B. (1989). Waste Away!. Vermont Institute of Natural Science, personal communication, June 2.

Tayci, F. & Uysal, F. (2012). A study for determining the elementary school students' environmental knowledge and environmental attitude level. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 46, 5718-5722.