ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งความร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งความร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมความร่วมมือก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และ3) เปรียบเทียบความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งร่วมมือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดาราสมุทร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งความร่วมมือ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือ และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมความร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งความร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บันไดแห่งความร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กนกทิพย์ พลเสน. (2551). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนสามโก้. ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จงรักษ์ ตั้งละมัย. (2545). ผลการฝึกความคิดเห็นอเนกนัยในเนื้อหาต่างกันที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนาธิป พรกุล. (2543). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ สังข์มุรินทร์. (2549). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง: กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2553). วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตทางการเมืองในประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
ปิยะฉัตร ขาวแก้ว. (2542). ผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ที่มีทักษะการทำงานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชา ส 306 ประเทศของเรา 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,สาขาหลักสูตรและการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไพศาล หวังพานิช. (2551). การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองการพิมพ์.
วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2540). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นทักษะกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2550). สุดยอดวิธีสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาระบบความคิด. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.
Aronson, E., Breil, J., & Social Psychology Network. (2014). The Jigsaw Classroom. Retrieved from https://www.jigsaw.org
Slavin, Robert E. (1987). Cooperative Learning and Cooperative School, Educational
Leadership. 45, 7-13.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning: Theory, Research and Practice. 2nd ed.
Boston: Allyn and Bacon.