ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาการบัญชี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ในรายวิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น 1 ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาการบัญชี ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาการบัญชี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่า t-test แบบ dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาการบัญชี มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับดี และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กนกวรรณ วีระรัตนนุสรณ์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชาการเงินธุรกิจ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือแบบเอส ที เอ ดี(STAD). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บทความวิจัย, 3(2), 31-42.
ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงษ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ): กรุงเทพ
นันทชัย นวลสอาด. (2554). ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติ โดยใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 .ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรทม สุระพร. (2558). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาสถิติเบื้องต้นและความพึงพอใจของผู้เรียนเมื่อใช้การจัดกลุ่มเรียนรู้เป็นทีมเทคนิค STAD. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 43(3), 552-563.
พันทิพา ทับเที่ยง. (2550).การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทางานกลุ่ม และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) กับการจัดการเรียนแบบร่วมมือแบบกลุ่มช่วยรายบุคคล (TAI).ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภริตา ตันเตริญ. (2561). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัฒนาพร ระงับทุกข์.(2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
วิชชุตา ทิขันติ (2554) .การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)(2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับอาชีวศึกษา V-NET ปีการศึกษา 2559. สืบค้นจาก https://www.niets.or.th/th/.
สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
David W. Johnson, Roger T. Johnson, Edythe Johnson Holubec (1993). Circles of Learning: Cooperation in the Classroom. Education, Interaction Book Company
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. 2nd ed. Massachsetts : A Simom & Schuster.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning. 2nd ed. USA: Allyn and Bacon.