การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ การคิดอย่างมีเหตุผล ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ผลการคิดอย่างมีเหตุผล กับเกณฑ์ที่กำหนดและเพื่อศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการคิดอย่างมีเหตุผล และ 5) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการคิดอย่างมีเหตุผลหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กุณฑรี เพ็ชรทวีพรเดช และคณะ. (2550). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์ นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
จริญญา ไศลบาท. (2554). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism). ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จำนง วิบูลย์ศรี. (2525). อิทธิพลทางภาษาต่อการคิดเชิงเหตุผลในเด็กไทย: การวิจัยเชิงทดลอง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนทร บับพาน. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาสาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิศนา แขมมณ๊. (2558). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2544). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษา: การเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางเรื่อง “การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นสร้างความรู้และการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พินิจ พินิจพงษ์. (2553). ผลการใช้สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียตามทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศักดิ์ชัย มุดลาด. (2554). การคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยวิธีสืบเสาะหาความรู้เสริมเทคนิคการอภิปราย. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,วิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวพร ศรีจรัญ. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฎจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง ที่มีผลต่อการคิดอย่างมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพ ฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: สกสค.ลาดพร้าว.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2562). คู่มือการจัดสอบวัดความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Nationnal Test : NT). กรุงเทพ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อัชญา ศรีนาราง. (2556). การพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นจังหวัดตราดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา(Constructionism). ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. Prepared Under the Auspices of Phi Delta Kappa (3 ed.). New York: McGraw-Hill.
Piaget and Inhelder. (1969). The Phychology of the child. Translated by Halon Weaver. New York: Basic Book.
Sun, R. B., &Trowbridge, L.W. (1973). Teaching science by inquiry in the secondary school (2 ed). Columbus: Charles E.Menill.