ความเหนื่อยล้าทางจิตใจในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิยาม ขอบเขต แนวคิดความเหนื่อยล้าทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการเรียน และวิเคราะห์ช่องว่างการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ งานวิจัยเชิงประจักษ์ในเรื่องความเหนื่อยล้าทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในช่วง 20 ปี ซึ่งผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 8 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ความเหนื่อยล้าทางจิตใจในบริบทการเรียน หรือในบางครั้งเรียกว่า ความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด หมายถึง ลักษณะความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการใช้งานสมองด้านการรู้คิดติดต่อกันโดยไม่หยุดพัก และถูกจัดเข้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเหนื่อยล้า ความเหนื่อยล้าทางจิตใจนี้ อธิบายได้ 2 แนวคิดหลัก คือ (1) แนวคิดกระบวนการทางปัญญาและการรู้คิด (Cognitive Information Processing Theory) และ (2) แนวคิดภาระทางปัญญา (Cognitive Load Theory) นอกจากนี้ผลการวิจัยที่ผ่านมายังยังสะท้อนให้เห็นว่าความเหนื่อยล้าทางจิตใจเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยในบริบทของการเรียนจัดเป็นความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการใช้งานสมองส่วนการรู้คิด เช่น การเรียน การสอบ การจดจำ การคิดวิเคราะห์เป็นเวลานานติดต่อกัน กระทั่งสมองเกิดความล้า อันเป็นผลให้คิดได้ช้าลง ประสิทธิภาพในงานลดลง ผิดพลาดมากขึ้น และส่งผลกระทบไปยังบริบทอื่น ๆ ด้วย ช่องว่างประการสำคัญของการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ยังขาดข้อความรู้ในเรื่องลักษณะและองค์ประกอบที่สำคัญของความเหนื่อยล้าทางจิตใจ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเรียน รวมถึงขาดความรู้ในเรื่องปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเหนื่อยล้าทางจิตใจในบริบทดังกล่าว ดังนั้นการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาประเด็นดังกล่าว รวมถึงศึกษาแนวทางในการจัดการและการฟื้นฟูความเหนื่อยล้าทางจิตใจอย่างเหมาะสมกับบริบทการศึกษาของประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษาเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้นต่อไป
Article Details
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศรีรักษ์ ศรีทองชัย. (2534). การประเมินความล้าทางจิตใจในการทำงานตัดท่อและกลึงท่อโดยใช้ฟัซซีเซต (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.
Ackerman, P. L., Kanfer, R., Shapiro, S. W., & Newton, S. (2010). Cognitive fatigue during testing: An examination on trait, time-on-task, and strategy influences. Human Performance, 23(5), 381-402.
Davis, T. J., & Fichtenholtz, H., M. (2019). Thinking outside of functional fixedness with the aid of mental fatigue. Creativity Research Journal, 31(2), 223-228.
Fukuda, S., Yamano, E., Joudoi, T., Mizuno, K., Tanaka, M., Kawatani, J., Takano, M., Tomoda, A., Imai-Matsumura, K., Miike, T., & Watanabe, Y. (2010). Effort-reward imbalance for learning is associated with fatigue in school children. Behavioral Medicine, 36, 53-62.
Grandjean, E. (1979). Fatigue in industry. Occupational & Environmental Medicine, 36(3), 175-186.
Harris, S., & Bray, S. R. (2019). Effect of mental fatigue on exercise decision-making. Psychology of Sport & Exercise, 44, 1-8.
Hendrati, L. Y., Martini, S., & Lestari, K. S. (2019). Relationship between mental workload and fatigue of motorcycle rider among East Java student. Indian Journal of Public Health Research & Development, 10(9), 1049-1054.
Hopstaken, J. F., Linden, D., Bakker, A. B., & Kompier, M. A.J. (2015). The window of my eyes: Task disengagement and mental fatigue covary with pupil dynamics. Biological Psychology, 110, 100-106. (https://doi.org/10.1016/j.biopsycho.2015.06.013)
Klausmeier. H.J.(1985). Educational psychology 5th ed. New York: Harper & Row.
Li, J., Song, G., & Miao, D. (2016). Effect of mental fatigue on nonattention: a visual mismatch negativity study. NeuroReport, 27, 1323-1330.
Li, D., & Sullivan, W. C. (2016). Impact of views to school landscapes on recovery from stress and mental fatigue. Landscape and Urban Planning, 148, 149-158.
Lorist, M. M., Boksem, M. A.S., & Ridderinkhof, K. R. (2005). Impaired cognitive control and reduced cingulate activity during mental fatigue. Cognitive Brain Research, 24(2), 199-205.
Michielsen, H. J., Willemsen, T. M., Croon, M. A., Vries, J., & Heck, G. L. (2004). Determinants of general fatigue and emotional exhaustion: A prospective study. Psychology and Health, 19(2), 223-235.
Paas, F., Gog, T. van., & Sweller, J. (2010). Cognitive load theory: New conceptualizations, specifications, and integrated research perspective. Educational Psychology Review, 22(2), 115-121.
Piper, B. F. (1993). Fatigue. In V., Carrieri-Kohlman, A. M., Lindsey, & C. M., West (Eds.), Pathophysiological phenomena in nursing: Human Responses to illness. (2nd ed., pp. 279-302). Philadelphia: W.B. Saunders.
Plukaard, S., Huizinga, M., Krabbendam, L., & Jolles, J. (2015). Cognitive flexibility in healthy students is affected by fatigue: An experimental study. Learning and Individual Differences, 38, 18-25.
Sievertsen, H. H., Gino, F., & Piovesan, M. (2015). Cognitive fatigue influences students' performance on standardized tests. PNAS Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 113(10), 2621-2624.
Sweller, J. (2011). Cognitive load theory. In J. P. Mestre & B. H. Ross (Eds.)
Thorndike, E. L. (1898). Mental fatigue. The Journal of Educational Psychology, 48(5), 5.
Thorndike, E. L. (1899a). Mental fatigue. Science, 9(229), 712-713.
Thorndike, E. L. (1899b). The mental fatigue due to school work. Science, 9(234), 862-864.
Tzeletopoulou, A., Alikari, V., Krilkelis, M. I., Zyga, S., Tsironi, M., Lavdaniti, M., & Theofilou, P. (2019). Fatigue and perceived social support as predictive factors for aggressive behaviors among mental healthcare professionals. Archives of Hellenic Medicine, 36(6), 792-799.
Van der Linder, D., Frese, M., & Sonnentag, S. (2003). The impact of mental fatigue on exploration in a complex computer task: Rigidity and loss of systematic strategies. Human Factors, 45(3), 483-494.