ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนากระบวนการสำรวจค้นหาในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E

Main Article Content

ธัญพร สันวิลาศ
ปริญญา ทองสอน
สมศิริ สิงห์ลพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อ  การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนากระบวนการสำรวจค้นหา ในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดผาสุการาม (สุวรรณวิทยาคาร) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนากระบวนการสำรวจค้นหา ในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น. สืบค้นจากhttps://www.moe.go.th/การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชนิสรา พยัคพันธ์ (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนอินนอโม จังหวัดพัทลุง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ณัฎฐิยานุช เหนียวบุบผา. (2559). ผลการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและสมบัติของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบุพราหมณ์ จังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ดวงพร หมวกสกุล. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิจัยการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ฟแมนเนจเม้นท์.

เรวดี กิจพัฒนาสมบัติ. (2556). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 7E (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับหลักสูตรอนาคต ระดับประถมศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้. สืบค้นจาก http://www.ipst.ac.th/files/curriculum2556/ManualScience-P.pdf.

สุมิตรา กันธิยะ. (2556). ความสามารถทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยวิธีการสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุวคนธ์ ผ่านสำแดง. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง อาหารและสารอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Ebrahim, A. (2004). The effects of traditional learning and learning cycle inquiry learning strategy on students’ science achievement and attitudes toward elementary Science (Kuwait). Dissertation Abstracts International, 65(2), 68-69.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model a proposed 7E modal emphasizes transfer of learning and the importance of eliciting prior understanding. The Science Teacher, 70(6), 56-59.

Hapgood, S. (2003). Motion in action: A study of second graders’ trajectories of experience during guide in inquiry science instruction. Dissertation Abstracts International, 64(6), 196.

Koballa, T. R. (1988). Attitude and related concepts in science education. Science education, 72, 115–126.

Norwich, B., & Duncan, J. (1990). Attitudes, subjective norm, perceived preventive factors, intentions and learning science: testing a modified theory of reasoned action. British Journal of educational psychology, 60, 312–321.