การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา

Main Article Content

นิติ นาชิต
พรทิพย์ เอกมหาราช

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยกิตอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) พัฒนาระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาอาชีวศึกษา การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครูผู้รับผิดชอบระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 220 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเพื่อบรรณาธิการกิจระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการแสดงความคิดเห็นด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ จำนวน 50 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษา ตารางการวิเคราะห์เนื้อหา ประเด็นในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเด็นในการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษาของสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับมาก  2) ระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยมีขอบเขตของเนื้อหาของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ แนวคิดเกี่ยวกับระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา โครงสร้างระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา การบริหารจัดการะบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา หลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติในการสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา กลยุทธ์ในการดำเนินงานระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา และ แนวทางการจัดทำคลังเครื่องมือวัดและประเมินความรู้และประสบการณ์รายวิชาและระบบเครือข่าย และ 3) ความเหมาะสมของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของระบบสะสมหน่วยการเรียนรู้อาชีวศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พรทิพย์ เอกมหาราช, สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

อดีตผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการอาชีวศึกษา สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551. (2551, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 23 ก. หน้า 1-24.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2559). ระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 250-262.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานเทียบโอนผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). แนวทางการพัฒนาระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System): ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา