การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์

Main Article Content

จินตนา พุ่มไสว

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ประชากรที่ศึกษา คือ ครูผู้สอน จำนวน 10 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 105 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ที่พัฒนาขึ้น  มีกระบวนการจัดการศึกษา 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตระหนักสำนึกท้องถิ่นตนเอง (2) ขั้นรวบรวมแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (3) ขั้นวางแผนการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น (4) ขั้นทำตามแผนที่กำหนด และ (5) ขั้นประเมินผลและประยุกต์ใช้ และ 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ พบว่า 2.1) ผลการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียน ก่อนใช้รูปแบบการจัดการศึกษาที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้อยู่ในระดับมากที่สุด ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของรูปแบบ เท่ากับ 0.7813 สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นสามารถพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนสูงขึ้น ร้อยละ 78.13  2.2) ความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด 2.3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาด้วยแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองจันทร์ ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด


 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทัศนีย์ ทองไชย. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ, ด่านสุทธาการพิมพ์.

ยุพินธ์ บุญเทพ. (2556). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). จุดเน้นสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเพื่อการขับเคลื่อนการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่11) พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 “จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา.

Bruner J. I. (1963). The Process of Education. New York: Alfred A. Knopf Random House.

Butterwick, S. and Benjamin, A. (2006). The road to employability through personal deelopment: a critical analysis of the silences and amgiguities of the British Columbia (Canada) Life Skills Curriculum. International Journal of Lifelong Education, 25(1), DOI: 10.1080/02601370500309543

Jaycox. R. (2001). Rural home schooling and place-based education. Charleston, W V: ERIC.

Lawey. (1998). Florida module on generic teacher competencies: Module on module. Florida: The University of Florida.

World Health Organization. (1994). Life skills education for Children and Adoleseences in schools. Geneva.