กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี

Main Article Content

เพชรโยธิน ราษฏร์เจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างกลยุทธ์ ตอนที่ 2 การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี ตอนที่ 3 การทดลองใช้กลยุทธ์ ด้วยคู่มือการใช้กลยุทธ์และกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้กลยุทธ์ จำนวน 8 กิจกรรม ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้กลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถามและแบบรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ 4 ข้อ เป้าประสงค์ 4 ข้อ กลยุทธ์ 5 กลยุทธ์ 9 ตัวชี้วัด และ 8 โครงการ/ กิจกรรม โดยผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความสอดคล้อง  ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินผลการใช้กลยุทธ์ พบว่า คุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้และด้านทักษะ หมวดวิชาชีพมีคุณภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 13.49 และหมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 7.41 และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จงสถาพร ดาวเรือง. (2560). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาระบบวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

จารุณี ไกรแก้ว. (2562, พฤษภาคม 10). การจัดทำแผนกลยุทธ์. สืบค้นจาก http://www.oaep.go.th/images /news /20120214113850.pdf

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2557). อาชีวศึกษาทวิภาคีไทย. สืบค้นจาก http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/Articleld/2934/2934.aspx

ไชยา ประพันธ์ศิริ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นจาก http:// http://www.stcat.ac.th/data

ธนภัทร มั่นคง. (2561). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ตามแนวคิดคุณภาพมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

นันทิยา หุตานุวัตร และ ณรงค์ หุตานุวัตร. (2557). คิดกลยุทธ์ด้วย SWOT. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นิรุตต์ บุตรแสนดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา เล่ม136 ตอนพิเศษ 56 ง. หน้า 9-11.

สมคิด จีนจรรยา. (2563). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคเชียงรายสู่ความสำเร็จ. สืบค้นจาก http://www.ctc.ac.th/ctc/images

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อุดมศักดิ์ มีสุข. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 222-223.