การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อลิสา อินทร์ประเสริฐ
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
สมนึก ทองเอี่ยม

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) พัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหาร รองผู้บริหาร และครูผู้รับผิดชอบ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การศึกษารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับองค์ประกอบขั้นตอน 5 องค์ประกอบ คือ (1) องค์ประกอบขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในศูนย์การเรียนรู้ (2) องค์ประกอบขั้นตอนการจัดกิจกรรมโรงเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (3) องค์ประกอบขั้นตอนการดำเนินการเปลี่ยนแปลง (4) องค์ประกอบขั้นตอนการจัดระบบการเรียนรู้และ(5) องค์ประกอบขั้นตอนการสร้างเครือข่ายและขยายผล 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ยืนยันและเห็นชอบทั้ง 5 องค์ประกอบขั้นตอน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กัณยกร อัครรัตนากร. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
10(2), 142 - 156.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2551). คำปรารภในคำพ่อสอน ะมวลพระบรมราโชวาทและ
พระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ: มูลนิธิพระดาบส.
นครินทร์ น้อยปุก, พระมหาจีรวัฒน์ หูทอง และศิริวรรณ ลังการัตน์. (2550). การบริหารงาน
โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงใหม่:
รวมบทคัดย่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปีการศึกษา 2550. พิษณุโลก: งานบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรียานุช ธรรมปิยา. (2555). วิกฤติเศรษฐกิจ 2540 กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพ ฯ:
ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.ศาลินา บุญเกื้อ และนันทกาญจน์ ชินประหัษฐ์. (2557).
การถอดบทเรียนและวิเคราะห์อัตลักษณ์ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านการศึกษา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ.
อรวรรณ ป้อมดํา. (2561). การขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรีเขต 2.
กรุงเทพ ฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Bush, T. (1986). Theories of education management. London: Harper & Row.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper & Row.
Eisner. E. (1976). “Educationalconnoisseurship and criticism: Their form and functions in
educationevaluation.” The Journal of Aesthetic Education.10(3) :135.