การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการคิดฉายภาพ

Main Article Content

รศ.ดร.มนตรี วงษ์สะพาน

บทคัดย่อ

การคิดฉายภาพ (Visual Thinking) เป็นวิธีการคิดที่เน้นกระตุ้นกระบวนการทางสมองโดยเขื่อมโยงรูปภาพกับภาษาหรือข้อมูลที่สะสมไว้ในความทรงจำแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาดที่หลากหลายรูปแบบ วิธีการวาดภาพตามกลวิธีการคิดฉายภาพจะไม่เน้นความสวยงาม แต่เน้นสื่อความหมายให้เข้าใจ และเน้นความรวดเร็วในการวาดภาพ รูปแบบของภาพวาดจากการคิดฉายภาพแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การเขียนสัญลักษณ์ (Symbol/Icon) การเขียนแผนภาพ (Diagram) การเขียนภาพเชิงอุปมาอุปมัย (Analogy) และ การเขียนภาพเล่าเรื่องราว (Scene) กลวิธีการคิดฉายภาพสามารถนำไปผสมผสานกับวิธีสอนได้หลายแบบ เช่น รูปแบบการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เป็นต้น ครูผู้สอนสามารถพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคิดฉายภาพได้ เช่น ชุดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบคิดฉายภาพ ชุดฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แบบคิดฉายภาพ เป็นต้น ดังนั้น กลวิธีการคิดฉายภาพจึงเป็นวิธีการที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างฝังลึกและช่วยส่งเสริมการคิดได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ
Author Biography

รศ.ดร.มนตรี วงษ์สะพาน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2559). หน่วยที่ 11 การคิด การคิดแก้ปัญหา และการตัดสินใจ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต หน่วยที่ 8-15 (น. 11-7). นนทบุรี: สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดนยา สุเวทเวทิ. (2562). คิด-เห็น-เป็นภาพ ให้การวาดภาพสร้างการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

พรพิไล เลิศวิชา และอัครภูมิ จารุกร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.

ไพฑูรย์ อนันต์ทเขต. (2562). Visual Thinking คืออะไร. สืบค้นจาก http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/what-is-visual-thinking/

รณิดา วงษ์สะพาน.(2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบกับชุดการเรียนรู้แบบคิดเป็นภาพ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(1), 93-106.

สุทธิยา สุวรรณ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ของไดรเวอร์และเบลล์เสริมด้วยผังมโนทัศน์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. ใน งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kristina Robertson. (2006). Visual Thinking Strategies for Improved Comprehension. Retrieved from https://www.colorincolorado.org/article/visual-thinking-strategies-improved-comprehension

University College Cork. (2006). Visual Thinking Strategies. Ireland. Retrieved from https://www.ucc.ie/en/vts/