รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง

Main Article Content

มุทิตา อินกล่ำ
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
ธนวิน ทองแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ชลบุรี  ระยอง ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ การสื่อสารวิสัยทัศน์ และการสร้างแรงบันดาลใจ (2) ด้านภาวะผู้นำด้านการสื่อสาร ประกอบด้วย การฟังอย่างมีประสิทธิผล การนำเสนอ และการใช้เทคโนโลยี (3) ด้านภาวะผู้นำการทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย ความไว้วางใจ การมีส่วนร่วม และความยืดหยุ่น (4) ด้านภาวะผู้นำการตัดสินใจ ประกอบด้วย ระบุปัญหาเบื้องต้น การวิเคราะห์ทางเลือก และการตัดสินใจ และ (5) ด้านภาวะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การสร้างความเปลี่ยนแปลง เชื่อมั่นในบุคคลอื่น และการให้คุณค่าเป็นแรงผลักดัน และรูปแบบภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสอบถามข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี  ระยองปีการศึกษา 2563 พบว่า  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2)  รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคนิคการวิจัย EDFR  พบว่ามีค่ามัธยฐานเท่ากับ  4.96  และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เท่ากับ .59  3) การตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ามีความเหมาะสม  เป็นไปได้ และนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง  

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จินตนา งานเจริญมงคล. (2561). การประยุกต์ใช้วิธีวิทยาคิวในการพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำยุค 4.0 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ชัชวาล ทัชศิวัต. (2553). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย.วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1),185 - 223.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2557). การรู้เท่าทันสื่อ: ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร สารสนเทศศาสตร์, 32(3), 74-91.

ธีระ รุญเจริญ.(2545). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย.กรุงเทพฯ:วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิเชียร ทองคลี่. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(3), 239-248.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการ แนวคิด หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (2563). สรุปข้อมูลทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2563. ชลบุรี: งานข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2563). รายงานผลการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ชลบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี กับการบูรณาการสู่แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.

อรสา มาสิงห์. (2560). การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 103-116.

Bass, B. M. (1999). Two decades of research and development in transformational leadership. European Journal of Work and Organizational Psychology, 8(1), 9-32.

Eisner. E. (1976). “Educationalconnoisseurship and criticism: Their form and functions in educationevaluation.” The Journal of Aesthetic Education.10(3) :135.

Fadel, C., & Trilling, B. (2009). 21st Century skills: Learning for life in our times. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.

Fiedler, F. E. (1967). A theory of leadership effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Hitt, M. A., Haynes, K. T., & Serpa, R. (2010). Strategic leadership for the 21st century. Business Horizons, 53, 437-444.

John R. H, Fenwick W. E, & Betty E. S. (1998) Skills for Successful 21st Century School Leaders: Standards for Peak Performers (Virginia: American Association of School Administrators, 8-9.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology measurement, 30(3), 607-610.

Likert, Renic. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago: Read Mc Nally.

National Association of Secondary School Principals [NASSP]. (2014). Breaking ranks: 10 Skills for successful school leaders. Retrieved from http://www.nassp.org/Content/ 44755/TenSkills%202nd_ed_exec_summ.pdf

Partnership for 21st Century Skills. (2009). 21st Century support systems. Retrieved from http://www.21stcenturyskills.org/route21/index

Pearson Education. (2009). Empower 21st century learners. Retrieved from http://www.pearsonschool.com/index

Sheninger, E. C. (2014). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Yukl, G. A. (2010). Leadership in organizations (7th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.