รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี

Main Article Content

ทวีศักดิ์ เจริญเตีย

บทคัดย่อ

งานวิจัยรูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ เป้าหมาย และตัวชี้วัด 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบ โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ของการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่มภายในสถานศึกษา และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัย แบบเก็บรวบรวมข้อมูลการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มี 4 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย (1) การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) (2) การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการจัดการศึกษา (3) การดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ (4) การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2). รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบการจัดการศึกษาฯ 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาฯ การตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2020/05/08/การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563.

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2564). Hybrid Learning การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้. เข้าถึงได้จาก https://touchpoint.in.th/hybrid-learning.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ, และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. รายงานการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เฉลิมชัย เลี้ยงสกุล. (2563). การศึกษาในยุค COVID-19. สืบค้นจาก https://jwc.rtarf.mi.th/new/index.php/2021-03-08-09-16-26?download=92:covid-19.

เบญจวรรณ เรืองศรี, อาลิษา วิเศษกาญจน์, ศุภมาส นุ่นสกุล และวศิณีย์ รุ่งรังสี. (2564). การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid-19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(2), 29-45.

เปรมยุดา สุดจำ. (2564). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์โควิด-19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 10-17.

พระครูสังฆรักษ์สิงห์ชัย ฐิตธมฺโม, พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต) และวรกฤต เถื่อนช้าง (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด 19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143-154.

Eisner, E. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and functions in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education, 10(3), 192–193.

Joyce, B. & Weil, M. (1996). Models of teaching (5th ed.). New York: Allyn & Bacon.

Keeves, J. P. (1988). Educational research, and methodology, and measurement. Oxford: Pergamon Press.

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2020). China ECE policy response to COVID-19. Retrieved from https://planipolis.iiep.unesco.org/en/2020/china-ece-policy-response-covid-19-6865.

Wongyai, W., & Patphol, M. (2020). Learning design for the new normal. Bangkok: Graduate School, Srinakharinwirot University.