การจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา หลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

โกศล รอดมา
ก้องเกียรติ เชยชม
มงกุฎ มูสิกธรรม
ธนู เพ็งแก่นแท้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานภาพปัจจุบันและเปรียบเทียบของคุณลักษณะส่วนบุคคลกับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาหลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย 2 แนวทาง คือ แนวทางเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ครูพลศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 499 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ อัตราส่วนร้อย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว และแนวทางเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ATLAS.ti จากการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียน เพศชาย มีอายุ 15-18 ปี มีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาหลังสภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ COVID-19 ทั้ง ด้านผู้บริหารและการบริหาร ด้านครูพลศึกษา ด้านนักเรียน ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และ ด้านการวัดและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก โดย 1) ด้านผู้บริหารและการบริหาร ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูพลศึกษาอบรมพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านครูพลศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนมีบุคลิกภาพที่ดีและมีความรับผิดชอบ 3) ด้านนักเรียน ได้แก่    การแต่งกายที่เหมาะสมกับการเรียนพลศึกษา 4) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ มีสนามกีฬากลางแจ้งที่เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา และ 5) ด้านการวัดและการประเมินผล ได้แก่ มีระบบการสอบแก้ตัวของนักเรียนที่มีความถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2565). มาตรการเปิดเรียน On site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด 19 ในสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565 จาก https://stopcovid.anamai.moph.go.th/attach/w774/f20220429113324_SPyd5tkRsx.pdf.

ดิศพล บุปผาชาติ. (2562). การจัดการเรียนรู้พลศึกษาในโรงเรียน สำคัญอย่างไร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(1), 45-54.

นภาพรรณ ปิ่นทอง และ นัยนา บุพพวงษ์. (2565). การจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาของครูในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 4. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 13(1), 1-19.

พันธนีย์ ธิติชัย และ ภันทิลา ทวีวิกยการ. (2564). สถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลกและในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองระบาดวิทยาและกองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

Bradley, V. M. (2021). Learning Management System (LMS) use with online instruction. International Journal of Technology in Education (IJTE), 4(1), 68-92.

Khamidi, A., & Hartoto, S. (2022). Management physical education learning model in the era of the covid-19 pandemic: A literature review. Jurnal Penelitian Pembelajaran, 8(1), 96-117.

Larasati, A., Sulaiman, S., & Nasuka, N. (2021). Physical education teacher learning management during the covid19 pandemic at special school in Pekalongan residency in 2020. Journal of Physical Education and Sports, 10(2), 142-149.