แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

Main Article Content

รัตนาพรรณ อายุยืน
หยกแก้ว กมลวรเดช
ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา และเพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ      แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 369 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา/รักษาการในตำแหน่ง จำนวน 120 คน ครูวิชาการ จำนวน 119 คน และครู/พี่เลี้ยงเด็กพิการจำนวน 130 คน สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับทางการบริหารจัดการเรียนรวมจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า สภาพปัญหาในการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ สำหรับผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาโดยใช้โครงสร้าง SEAT สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1  พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

จริยา ตรุษฎี. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรีเขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

จุฑาภรณ์ ธนกวีศิลป์. (2563). แนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนแกนนำเรียนรวมที่ประสบความสำเร็จ(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

ญาณวรุตม์ ติระพัฒน์. (2564). การจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบสภาพการบริหารการจัดการศึกษาพิเศษตามมาตรฐานการเรียนรวมของโรงเรียนเรียนรวม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 621-635.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (2551, 27 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก.

พีรพัฒน์ วรอัศวโภคิน. (2567). การบริหารจัดการเรียนรวมที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ภาวิณี เทมียโก. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเรียนรวมสาหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มารีนา ศรีวรรณยศ. (2561). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรวมในโรงเรียนเรียนรวมระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

รัตนา ยองประยูร. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรวม ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วิชาญ จารุกาญจน. (2564). การบริหารจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ศิรินภา หมั่นเขตร์กรณ์. (2563). การศึกษาปัญหาการบริหารโรงเรียนจัดการเรียนรวมตามโครงสร้างซีทในกลุ่ม สหวิทยา เขตทุ่งหินเทิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย. (2564). การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ระบบบริหารจัดการข้อมูลโรงเรียนเรียนรวม. สืบค้นจาก http://specialbasic.specialset.bopp.go.th/specialbasic/report_school_area.php?p=12utr&&report=1sc

อนุวรรตน์ ช่างหล่อ. (2561). การบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ของโรงเรียนจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Flora Usang. (2021). Implementation and monitoring committees of special needs education administration in cross river state. Special Needs Education, 4(1), 13-25.