การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา 2) เพื่อศึกษาขนาดอิทธิพลของบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ซึ่งประชากรและตัวอย่างเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่เกี่ยวข้องกับการใช้บอร์ดเกมเพื่อการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย (ThaiLIS) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2566 ซึ่งตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมีจำนวน 23 เล่ม ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมานเพื่อหาค่าขนาดอิทธิพลงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา โดยมีการใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลการวิเคราะห์อิทธิพลสุ่ม (Random effect model) ผลการวิจัยพบว่า 1) งานวิจัยส่วนใหญ่ระดับคุณภาพงานวิจัยอยู่ในระดับพอใช้ วิธีการเลือกตัวอย่างใช้แบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ได้แก่ เลือกแบบเจาะจงมากที่สุด ส่วนรูปแบบการทดลองจะเป็นการทดลองกับ 1 กลุ่มที่ไม่อิสระ และใช้ตัวอย่างจำนวน 30 คน ลงไป โดยใช้การทดลองบอร์ดเกม จำนวน 1-6 ครั้ง และใช้เวลาในการทดลองบอร์ดเกมมากกว่า 9 ชั่วโมงขึ้นไป 2) การศึกษาขนาดอิทธิพลงานวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษา ซึ่งตัววิธีการเลือกตัวอย่าง รูปแบบการทดลอง จำนวนการทดลอง และระยะเวลาการทดลอง ให้ขนาดอิทธิพลไม่แตกต่างกัน ยกเว้นจำนวนตัวอย่าง ให้ขนาดอิทธิพลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยสรุปการวิจัยบอร์ดเกมเพื่อการศึกษาส่วนใหญ่มีประสิทธิผลในระดับมากที่สุด และถ้ามีการทำวิจัยเกี่ยวกับบอร์ดเกมควรให้กำหนดจำนวนตัวอย่างไม่เกิน 30 คน มีแนวโน้มจะให้ขนาดอิทธิพลสูงกว่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). ถอดกระบวนการสร้างสรรค์ “บอร์ดเกม” เพื่อเรียนรู้แบบ Active Learning ไอเดียที่ ‘ใครก็ทำได้’ 21 กรกฎาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/article-12412/
นาถยา พรมประศรี มานศรี กลางประพันธ์ และสมเกียรติ พละจิตต์. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(85), 12-23.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, และสุวิมล ว่องวาณิช. (2541). การสังเคราะห์งานวิจัยทางการศึกษาด้วย การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ :กรุงเทพฯ.
มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ และรัชกร เวชวรนันท์. (2565). การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียน ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 29(2), 106-126.
เมธิยา พึ่งวงษ์. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยอิทธิพลของกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ของครูและวิธีการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
รัตนาวดี สมศรี. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
วรพล ยวงเงิน. (2564). การนำเกมกระดานเข้าสู่โรงเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23(4), 448-463.
สุรศักดิ์ เสาแก้ว. (2559). การอ่านและการแปลผลงานวิจัยการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารเชียงรายเวชสาร, 8(1), 1-17.
Borenstein, M. (2009). Effect sizes for continuous data. In H. Cooper, L. V. Hedges, & J. C. Valentine (Eds.), The handbook of research synthesis and meta-analysis (2nd ed., 221–235). Russell Sage Foundation.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Glass, G. V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-Analysis in Social Research. Beverly Hills, CA: Sage Publications.
Hedges, L. V. (1981). Distribution theory for Glass's estimator of effect size and related estimators. Journal of Educational Statistics, 6(2), 107–128.
Lauren Ehrenfeld. (2022). Benefits of Board Games for Children and their Families.Child development clinic. Retrieved online. https://www.childdevelopmentclinic.com.au/benefits-of-board-games-for-children-and-their-families.html
Thomas Conmy. (2023). WE ARE STILL PLAYING: A META-ANALYSIS OF GAME-BASED LEARNING IN MATHEMATICS EDUCATION. (Doctor of Education) The University of San Francisco, CA, USA.