การพัฒนาผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ในยุค New Normal ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของสื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาในการเรียนรู้ในการพัฒนาการผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะศึกษาศาสตร์ จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อการพัฒนาการผลิตสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค new Normal 2) แบบทดสอบความรู้ เรื่อง การผลิตสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิก และ 3) แบบประเมินสื่อดิจิทัลอินโฟกราฟิกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal รูปแบบ Rubric Score วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired Sample t-test และหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการกับผลลัพธ์ (E1/E2) ซึ่งกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์ในยุค New Normal มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ (81.17/83.67) 2) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.07 และ 16.73 คะแนน ตามลำดับ และคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่ออินโฟกราฟิกในการพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.66)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ชุติมา คำแก้ว, และวรากร แซ่พุ่น. (2566). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก เรื่อง สารสนเทศและสังคมแห่งการเรียนรู้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. Journal of Information and Learning, 35(1), 1-12.
ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บล็อกโอแจ๊สซี. (2557). ทำไม Infographic จึงเป็นอนาคตของ Online Marketing. สืบค้นจากhttp://ojazzy.tumblr.com/tagged.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพลการวิเคราะห์อำนาจการคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิจิตรา ธงพานิช. (2560). วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.
อัญชริกา จันจุฬา, สกล สมจิตต์, และสุภาพร จันทรคีรี. (2565). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิก เพื่อสร้างการรับรู้และจดจำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดยะลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 33(2), 1-13.
อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์. (2561). ผลการใช้สื่อแอนิเมชั่น อินโฟกราฟิก วิชาการสัมมนาคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาตามกิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (SSPC). วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 26-33.
Alsaadoun, A. (2021). The effect of employing electronic static infographic technology on developing university students’ comprehension of instructional design concepts and ict literacy. International Journal of Education and Literacy Studies, 9(1), 54-59.
http://dx.doi.org/10.7575/aiac.ijels.v.9n.1p.54
Jaleniauskiene, E., & Kasperiuniene, J. (2024). Integration of infographics in higher education: challenges faced by novice creators. Journal of Visual Literacy, 43(2), 95–123. https://doi.org/10.1080/1051144X.2024.2349382
Likert, R.. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Ray Chaudhury, S. (2021). Encouraging undergraduate students to ‘self-learn’digital marketing using infographics: An exploratory study. Innovations in Education and Teaching International, 58(2), 207-218. https://doi.org/10.1080/14703297.2019.1706617
Suleiman, O. (2023). Using Infographics as Communicative Tools During Covid-19 Pandemic in
Egypt: an Analytical Study. Journal of Design Sciences and Applied Arts, 4(1), 46-59. https://doi.org/10.21608/jdsaa.2022.144463.1197