ทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักเรียนมัธยมศึกษา ครูผู้สอน พลศึกษา และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 478 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 18 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านครูผู้สอนพลศึกษา ด้านผู้เรียน ด้านการวัดและการประเมินผล ด้านหลักสูตร ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านผู้บริหารและการบริหาร เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดกระบี่มีความสอดคล้องกัน ดังนี้ (1) ด้านหลักสูตร ได้แก่ วิชาพลศึกษามีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมีระเบียบวินัยให้กับนักเรียน (2) ด้านผู้บริหารและการบริหาร ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนการสอนของครูพลศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย (3) ด้านครูผู้สอนพลศึกษา ได้แก่ มีบุคลิกภาพที่ดี การแต่งกายเหมาะสมกับการสอน (4) ด้านผู้เรียน ได้แก่ ให้ความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนโดยการให้ร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ (5) ด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ มีสนามกีฬาในร่มและกลางแจ้งที่เหมาะกับการจัดการเรียนรู้พลศึกษา และ (6) ด้านการวัดและการประเมินผล ได้แก่ มีเกณฑ์การประเมินผลที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นต้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
อ้างอิงแหล่งที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และกรรณิการ์ สุขเกษม. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุชาต ประสิทธ์รัฐสินธุ์. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anyaogu, R. O. (2016). Creating conducive learning environment and management: A panacea for effective learning and creativity in schools. International Journal of Academia, 2(1), 1-9.
Creswell, J.W. (2015). A concise Introduction to mixed Methods research. Los Angeles: SAGE.
Flicker, K. (2020). The prison of convenience: The Need for National Regulation of Biometric Technology in Sports Venues. Fordham Intellectual Property, Media and Entertainment Law Journal, 30(3), 983-1043.
Gorgut, I., & Tutkun, E. (2018). Views of physical education teachers on values education. Universal Journal of Educational Research, 6(2), 317-332.
Jacobs, L. E., Hansea, A. Y., Nightingale, C. J., & Lehnard, R. (2019). What is “Too Cold?” Recess and Physical Education Weather Policies in Maine Elementary Schools. Moine Policy Review, 28(1), 49-58.
Kandpal, M. (2022). Creating a conducive / positive learning environment is corner stone of teaching and NEP-2020. International Journal of Science and Research (IJSR), 11(5), 990-994.
Voogt, J., & Nieveen, N. (2017). Conceptualizing time lag dilemma in curriculum change–An exploration of the literature. EDU/EDPC, 27, 1-45.