แนวทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาต่อคุณแม่วัยใส

Main Article Content

มิณฑิชา เดชเกตุ
ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามายาคติของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการให้สิทธิการศึกษา  อย่างต่อเนื่องแก่นักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) เสนอแนวทางการส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารจัดการนักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ให้ได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างต่อเนื่องตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร บทความ วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้บริหารสถานศึกษาฯ จำนวน  6 คน 2) นักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ฯ จำนวน 4 คน 3) บุคคลที่เคยลาออกจากสถานศึกษากลางคันหรือ  ไม่ได้ศึกษาต่อด้วยเหตุตั้งครรภ์ฯ จำนวน 4 คน 4) ครอบครัวของนักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ หรือบุคคลที่เคยลาออกจากสถานศึกษากลางคันหรือไม่ได้ศึกษาต่อด้วยเหตุตั้งครรภ์ฯ จำนวน 3 คน 5) ครูประจำชั้นหรือครูที่ปรึกษาฯ จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงครูและบุคลากรในสถานศึกษากลุ่มหนึ่ง ยังมีมายาคติต่อคุณแม่วัยใสที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติการเชิงลบ โดยการเลือกปฏิบัติต่อนักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ ปฏิเสธในการให้โอกาส และให้ความช่วยเหลือ ทำการกดดันหรือบีบบังคับให้ย้ายหรือลาออกจากสถานศึกษากลางคัน โดยที่นักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์และผู้ปกครองไม่สมัครใจ แต่ด้วยบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และหลายหน่วยงานร่วมกันขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ทำให้เปลี่ยนแปลงมายาคติของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรในสถานศึกษากลุ่มหนึ่ง นำไปสู่การปฏิบัติการเชิงบวก โดยผู้บริหารสถานศึกษามีแนวทางการบริหารจัดการนักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการแก้ไขปัญหา และด้านการกำกับติดตาม ทำให้นักเรียน/นักศึกษาที่ตั้งครรภ์ได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างต่อเนื่องที่สถานศึกษาเดิมด้วยการเรียนหลากหลายรูปแบบ

Article Details

How to Cite
เดชเกตุ ม., & องคสิงห ฉ. (2025). แนวทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาต่อคุณแม่วัยใส. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 7(1), 42–57. สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/276823
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562, 25 กุมภาพันธ์). สังคมเอาใจช่วย “เด็กท้องต้องไปต่อ”. https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/255793

กรุงเทพธุรกิจ. (2563, 15 มกราคม). ร้อง ศธ. ลงโทษ 'ผู้บริหารสถานศึกษา' บีบบังคับเด็กท้องออกจากโรงเรียน. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/social/862153

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และรุจิกาญจน์ สานนท์. (2563). ภาวะผู้นำการบริหารในภาวะวิกฤติสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(2), 105-118.

เตือนใจ สุนุกุล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. Dspace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3822

ปาริชาติ บุญเอก. (2562). เด็กไทยท้องไม่พร้อมเกินมาตรฐานโลก ขณะที่ “คนพร้อมไม่ท้อง”ทั้งที่พร้อมด้วยวัยวุฒิและฐานะ. https://www.bangkokbiznews.com/social/848794

พิษณุ ขันติพงษ์. (2565, 8 มกราคม). เรื่องท้องไม่พร้อม ปัญหาที่พบได้ทุกวันนี้ในสังคมปัจจุบัน. https://rsathai.org/contents/18681/

ฟารีดา เจะเอาะ และอัตนันท์ เตโชพิศาลวงศ. (2564). มายาคติกัญชา การสื่อสาร ความรู้ และความเชื่อของสังคมไทย: กรณีศึกษาผู้ใช้และผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ยุทธพงษ์ จักรคม และวิยุทธ์ จำรัสพันธุ์. (2566). บทบาทภาวะผู้นำในการจัดการภาวะวิกฤตในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ในประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(2), 1-19.

ราชกิจจานุเบกษา. (2559). พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. เล่มที่ 133 ตอนที่ 30 ก เลขหน้า 1 ประกาศใช้ 31 มีนาคม 2559.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2561. เล่มที่ 135 ตอนที่ 81 ก หน้า 13 ประกาศใช้ 12 ตุลาคม 2561.

ราชกิจจานุเบกษา. (2566). กฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานศึกษาและการดำเนินการของสถานศึกษาในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566. เล่มที่ 140 ตอนที่ 11 ก หน้า 3 ประกาศใช้ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566.

สำนักข่าว BBC News ไทย. (2566, 21 กุมภาพันธ์). ส่องสถิติคุณแม่วัยใสน่ากังวลแค่ไหน ก่อนประกาศกฎใหม่ "เด็กท้องต้องได้เรียน. https://www.bbc.com/thai/articles/c1wj4p8xw91o

สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2559). รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2567). สรุปผลการดำเนินการตามรายงานการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการ การพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เรื่อง แนวทางการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กลุ่มงานติดตามและประมวลผลงานของวุฒิสภา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. (2564, 14 พฤษภาคม). รายงานเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น พ.ศ. 2563. https://rh.anamai.moph.go.th/th/surveillance-report/2515#wow-book/

สุขยืน เทพทอง. (2563). ภาวะผู้นำในสภาวะวิกฤต. http://mdc.library.mju.ac.th/ebook/350425.pdf

เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. Dspace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/handle/123456789/3779

Barthes, R., & Lavers, A. (1985). Mythologies. Hill and Wang.

Basadur, M. (2004). Leading other to think innovatively together: creative leadership. Journal of The Leadership Quarterly, 15(1), 103-121.

Harris, A. (2009). Creative Leadership: Developing Future Leaders. Management in Education, 23(1), 9-11.